Page 101 - kpiebook66013
P. 101
เข้ามามีบทบาทส�าคัญในการท�างานของมนุษย์ เช่น กรณีการจ้างงาน
ผ่านแพลตฟอร์ม
ข. แรงงานนอกระบบและแรงงานอิสระที่มีสัดส่วนมากกว่าแรงงาน
ที่เป็นลูกจ้าง คือ บทสะท้อนถึงปัญหากฎหมายแรงงานไทย
ที่ยังไม่ครอบคลุมในทุกมิติ และกฎหมายที่ไม่อาจพัฒนาได้ตาม
พลวัตสังคมได้อย่างแท้จริง
ค. การบังคับใช้บทกฎหมายแรงงานที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ยังคงยึดติด
กับกรอบคิดเดิมๆ (กฎหมายแรงงานเป็นกฎหมายที่บังคับใช้
กับการประกอบการอุตสาหกรรมในโรงงาน) แม้ว่าแท้จริงแล้ว
ตัวบทกฎหมาย (พิจารณาตามเจตนารมณ์แห่งกฎหมาย) ได้ยอมรับ
ความยืดหยุ่นในการบังคับใช้กฎหมายส�าหรับงานบางประเภท
บางลักษณะ หรือบางเงื่อนไขการท�างาน แต่ในทางปฏิบัติกลับถูก
มองข้ามและไม่มีการน�ามาใช้ให้เกิดสัมฤทธิ์ผลแท้จริง
ง. ประเด็น IUU Fishing ที่สะท้อนความอ่อนด้อยของระบบการบริหาร
จัดการแรงงานต่างด้าวของไทย อีกทั้งภาพที่ปรากฏแก่สากล คือ
การละเมิดสิทธิแรงงานอันเป็นสิทธิมนุษยชน ที่แม้ว่ากฎหมาย
แรงงานไทยในเรื่องที่เกี่ยวข้องจะได้มีการพัฒนาแก้ไขให้รับกับ
หลักการสากลแล้วก็ตาม แต่ด้วยความบกพร่องหรือช่องโหว่
ทางกฎหมายท�าให้เกิดภาพลักษณ์เชิงลบและสร้างผลเสียหายต่อ
ระบบเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกอาหารทะเลไทย
โดยสรุป การพัฒนาแก้ไขบทกฎหมายแรงงานและแนวปฏิบัติด้านแรงงาน
ของไทยนั้น จ�าต้องพิจารณาจากเงื่อนไขหลักส�าคัญ 3 ส่วน ได้แก่ ที่มาของกฎหมาย
ภายใน ที่มากฎหมายภายนอก และแนวทางสากลเพื่อการพัฒนากฎเกณฑ์
และกติกาในการจ้างแรงงานให้สอดคล้องกับพลวัตของเศรษฐกิจและสังคม
ประกอบกับสถานการณ์อันเป็นบริบทแวดล้อมที่สะท้อนปัญหาของกฎหมาย
แรงงานไทยทั้งส่วนที่เป็นหลักการในการพัฒนากฎหมายและส่วนที่สะท้อน
ภาพลักษณ์เชิงลบของการแรงงานไทย ที่อาจสรุปได้เป็น 12 ประเด็น ดังนี้
101