Page 100 - kpiebook66013
P. 100
คุณค่าเป็นหลักการในการพัฒนากฎหมาย และส่วนที่สอง บริบทแวดล้อมอันเป็น
ข้อเท็จจริงที่สะท้อนภาพลักษณ์เชิงลบของการแรงงานไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1. บริบทแวดล้อมที่มีคุณค่าเป็นหลักการในการพัฒนากฎหมาย รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 ได้ก�าหนดกลไกในการประเมิน
ผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นกลไกใหม่และมีความส�าคัญที่จะท�าให้
ลดความซ�้าซ้อนของบทกฎหมายอีกทั้งช่วยให้บทกฎหมายแรงงานไทยมีความเป็น
เอกภาพมากขึ้น นอกจากนี้แล้ว แผนปฏิรูปประเทศทั้งส่วนที่เกี่ยวกับกฎหมาย
และการแรงงาน ถือเป็นเงื่อนไขที่สมควรได้รับการเคารพและน�ามาปฏิบัติให้เกิด
ผลแท้จริง โดยงานศึกษาฉบับนี้พบว่า การจัดประมวลกฎหมาย ซึ่งเคยปรากฏ
การศึกษาอย่างจริงจังมาแล้ว ก็ควรได้รับการน�ามาพัฒนาต่อยอดให้มีความเป็น
รูปธรรมแท้จริง หรือหากเห็นว่าท้ายที่สุดแล้วการจัดท�าประมวลกฎหมายแรงงาน
ไม่สนองต่อวิถีทางหรือธรรมเนียมปฏิบัติอย่างไทยที่หากท�าไปแล้วจะท�าให้เกิด
ปัญหามากกว่าประโยชน์ก็ควรแสดงให้เห็นผลนั้นไว้อย่างชัดเจนเพื่อน�าผลลัพธ์
ส่วนนี้ไปเป็นเหตุในการพัฒนาแก้ไขแผนปฏิรูปประเทศตลอดจนแสดงให้สังคม
ประจักษ์ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้มีอ�านาจหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามแผน
กรอบ และขอบเขตเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ไม่ใช่ตามอ�าเภอใจตน นอกจากนี้แล้ว
กิจกรรม Big Rock ที่คณะกรรมการปฏิรูปประเทศได้เคยสรุปไว้ว่าเป็นเรื่องที่
ควรพิจารณาและได้รับการพัฒนาอย่างเร่งด่วน คือ อีกข้อพิจารณาส�าคัญที่ควร
ด�าเนินการต่อให้เกิดผลเชิงรูปธรรม
2 บริบทแวดล้อมอันเป็นข้อเท็จจริงที่สะท้อนภาพลักษณ์เชิงลบของ
การแรงงานไทย เหตุการณ์หรือข้อเท็จจริงที่กระทบต่อภาพลักษณ์ของกฎหมาย
แรงงานไทยอาจจ�าแนกได้เป็น 4 เหตุส�าคัญ กล่าวคือ
ก. นวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีการน�ามาใช้
แรงงานมนุษย์ในหลากหลายกิจกรรม ถือเป็นข้อพิจารณาส�าคัญต่อ
ทิศทางการวางนโยบายเพื่อการส่งเสริมและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
อย่างยิ่ง นอกจากนี้แล้ว บทกฎหมายแรงงานเองก็จ�าเป็นต้อง
สนองต่อข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นอันเป็นผลของการใช้นวัตกรรม
100 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่