Page 95 - kpiebook66013
P. 95

ด้วยตนเองได้ เหตุนี้เองการแรงงานจึงเกี่ยวข้องกับชีวิตวัยเด็กของมนุษย์โดยผ่าน
               ทางกฎเกณฑ์การใช้แรงงานของบิดามารดาของเด็กนั้นนั่นเอง


                      เมื่อการแรงงานมีความส�าคัญเช่นว่านี้แล้ว จึงเป็นเรื่องปกติที่นโยบาย
               หรือแผนงานระดับชาติจ�าเป็นต้องกล่าวถึงแนวคิดและวิถีทางในการบริหารจัดการ

               ข้อท้าทายต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแรงงานไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาวะของสังคม
               เศรษฐกิจชาติ และสากลในขณะนั้น ส�าหรับประเทศไทย แผนและนโยบายที่ส�าคัญ

               เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
               ในส่วนของบทกฎหมายนั้น นับเริ่มจากรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดของประเทศ

               ย่อมเป็นปกติที่ประเด็นแรงงานจะถูกน�ามาก�าหนดลงไว้ส่วนใดส่วนหนึ่ง เรียงล�าดับ
               ศักดิ์กฎหมายลงมา คือ กฎหมายระดับพระราชบัญญัติ ย่อมมีกฎเกณฑ์เฉพาะ

               เกี่ยวกับการแรงงาน โดยอาจตราเป็นประมวลรวมหลายๆ เรื่อง ไว้ในเล่มเดียว
               หรืออาจตราไว้แยกเรื่องแยกส่วนโดยแยกส่วนที่เป็นหลักการพื้นฐานทั่วไป เช่น

               พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ของไทย และเรื่องหรือส่วนเฉพาะ
               ที่อาจมีรายละเอียด แนวคิด หลักการต่างๆ ที่แตกต่างไปจากหลักการพื้นฐาน

               ทั่วไปอย่างมีนัยส�าคัญ เช่น พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ
               สภาพแวดล้อมในการท�างาน พ.ศ. 2554 นอกจากนี้แล้ว กฎหมายล�าดับรอง

               เช่น กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ที่บัญญัติขึ้นเพื่อก�าหนดรายละเอียด
               ขยายความหรือแนวปฏิบัติในการด�าเนินการใดๆ เพื่อช่วยให้กฎหมายระดับ

               พระราชบัญญัตินั้นสามารถน�ามาปฏิบัติใช้ให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างแท้จริง
               ตลอดจนค�าพิพากษาในฐานะที่มาของกฎหมายทางอ้อม ผ่านการตีความ และ

               การก�าหนดเงื่อนไของค์ประกอบให้กับบทบัญญัติบางเรื่องที่การบังคับใช้จ�าเป็นต้อง
               มีกติกาเพิ่มเติมด้วยเหตุผลความเป็นธรรม อันจะท�าให้บทบัญญัติดังกล่าวนั้น

               สามารถน�าไปใช้ได้สมตามเจตนารมณ์ของกฎหมายภายใต้บริบทที่เป็นปัจจุบัน

                      ในทางสากล เป็นที่ยอมรับว่าหลักการเกี่ยวกับใช้แรงงานเรื่องต่างๆ

               และบริบทแวดล้อมอันเป็นปริมณฑลของการใช้หรือจ้างแรงงานนั้น ควรเป็นไป
               ตามหลักการและวิธีปฏิบัติที่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International

               Labour Organization - ILO) ได้ตราขึ้นและประกาศใช้ทั้งในรูปของอนุสัญญา




                                                                                  95
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100