Page 94 - kpiebook66013
P. 94
เห็นว่าเป็นเรื่องส�าคัญยิ่งส�าหรับการพัฒนาระบบกฎหมายแรงงานไทยให้สอดคล้อง
กับหลักการของสากลอย่างสมบูรณ์ ในส่วนของเหตุผลที่สามารถใช้อธิบาย
ความส�าคัญของประเด็นนี้ได้ ก็คือ การรวมกลุ่มเพื่อการเจรจาต่อรองทางแรงงาน
เป็นกลไกพื้นฐานที่จะช่วยประสานและขับเคลื่อนกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้แรงงาน
ให้ด�าเนินไปได้ตามครรลองสากลบนพื้นฐานของการตกลงยินยอมของภาคีสองฝ่าย
ด้านแรงงงาน กล่าวคือ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง ย่อมน�ามาซึ่งสันติสุข
ในสังคมแรงงานได้อย่างแท้จริง อย่างไรก็ดี อาจตั้งข้อสังเกตได้ว่าการพัฒนา
กฎหมายแรงงานในประเด็นดังกล่าวนี้ ค่อนข้างไม่สอดคล้องกับโครงสร้างและ
บรรทัดฐานของสังคมไทยที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ โดยเฉพาะการเคารพและเชื่อฟัง
ผู้อาวุโสหรือผู้อยู่ในสถานะที่สูงกว่า อีกทั้งการต่อรองหรือเรียกร้องไม่ใช่วัฒนธรรม
ซึ่งยอมรับเป็นปกติประเพณีในสังคมตะวันออกเท่าใดนัก หลักการและข้อจ�ากัด
ที่เขย่งกันอยู่นี้เอง คือ ข้อท้าทายส�าคัญที่รัฐจ�าต้องแสวงหากลไกที่เหมาะสมและ
ได้สัดส่วนมาใช้ประสานปัญหาเพื่อให้แนวคิดที่ตรงข้ามสามารถน�ามาใช้ร่วมกัน
ได้อย่างสมดุล
ประเด็นเรื่อง “แรงงาน” เกี่ยวข้องกับการด�าเนินปกติวิถีของชีวิตมนุษย์
ตั้งแต่เกิดจนตาย และตั้งแต่เช้าจรดค�่า กล่าวคือ หากพิจารณาอย่างแคบ
การแรงงานอาจถูกเข้าใจได้ว่าเป็นเรื่องราวที่มนุษย์คนหนึ่งด�าเนินกิจกรรมใดๆ
โดยใช้เวลา 1/3 ของวัน เพื่อประกอบสัมมาอาชีพหาเลี้ยงตนเองและครอบครัว
แต่หากพิเคราะห์ให้กว้างขึ้น เวลาที่เหลืออีก 2/3 ของวันก็สัมพันธ์กับการแรงงาน
เช่น กรณีที่จ�าเป็นต้องท�าการงานมากกว่าปกติที่เคยเป็นมาย่อมกระทบต่อส่วนเวลา
ที่ควรใช้เพื่อการพักผ่อน หรือเพื่อกิจกรรมส่วนตัวอย่างอื่น นอกจากนี้แล้ว
การแรงงานยังส่งผลไปถึงช่วงชราภาพหลังการเกษียณอายุที่ต้องมีการวางแผน
เกี่ยวกับการเงินและการใช้เวลาท�างานที่เปลี่ยนไปจากช่วงชีวิตที่ผ่านมา ในส่วน
ของผู้ใช้แรงงานที่มีครอบครัวเอง การแรงงานที่เดิมทีอาจเป็นเรื่องเฉพาะตน
ย่อมต้องเปลี่ยนไป อันเนื่องจากเกิดข้อค�านึงเพิ่มเติมที่การแรงงานจ�าต้องมีบทบาท
ต่อศักยภาพในการแสวงหาและบริหารจัดการทรัพยากรและประโยชน์อื่นที่จ�าเป็น
ให้กับสมาชิกในครอบครัว โดยเฉพาะสมาชิกที่เป็นเด็กซึ่งยังไม่อาจหาเลี้ยงชีพ
94 การปรับปรุงกฎหมายแรงงาน
ภายใต้โครงการศึกษาวิเคราะห์ร่างกฎหมายและกฎหมายที่มีผลใช้บังคับอยู่