Page 93 - kpiebook66013
P. 93
กลุ่มตัวแปร 1 กลุ่มตัวแปร 2 กลุ่มตัวแปร 3 กลุ่มตัวแปร 4
3 2 1 3 2 1 3 2 1 3 2 1
ป.12
น36/ น38/ น39/
บ24 บ10 บ15
ประเด็นนี้มีค่าความส�าคัญเท่ากับ 7 จากตัวแปร 3 กลุ่ม
3. บทสรุปและบทส่งท้าย : ข้อพิจารณาเพื่อการพัฒนา
กฎหมายแรงงานให้สอดคล้องกับ “หลักการ” สากล
และ “บริบท” ด้านสังคม และเศรษฐกิจของประเทศ
นับตั้งแต่มีการประกาศใช้และพัฒนาปรับปรุงเรื่อยมา “กฎหมายแรงงาน
ของไทย” ได้ผ่านทั้งประวัติศาสตร์สากล และบริบทเฉพาะอย่างไทย ทั้งด้านสังคม
วัฒนธรรม การเมือง และเศรษฐกิจ เหตุการณ์และเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวกับกฎหมาย
และการแรงงานตั้งแต่อดีตกระทั่งปัจจุบันท�าให้อาจประเมินสถานะของกฎหมาย
แรงงานไทยในภาพรวมได้ว่าอยู่ในช่วงของการพัฒนาที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังไม่ถึงขั้นสมบูรณ์ดังจะเห็นได้จากการที่บทกฎหมายและแนวปฏิบัติ
ด้านการแรงงานของไทยบางเรื่องมีสารัตถะไม่สอดคล้องกับหลักการแรงงานสากล
เช่น หลักว่าด้วยรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองตามบทกฎหมายไทยที่ยังเป็นไป
ในทางจ�ากัดสิทธิบางประการของผู้ใช้แรงงานอยู่ หรือกล่าวอีกนัยได้ว่า
ในกฎหมายไทยนั้น การรับรองสิทธิในการรวมกลุ่มและการเจรจาต่อรองด้านแรงงาน
เป็นไปในลักษณะที่มีเงื่อนไข อันท�าให้เกิดความลักลั่นแก่ผู้ใช้แรงงานที่จะมี
และสามารถใช้สิทธินั้นได้ ซึ่งต่างจากหลักสากลที่ก�าหนดให้ประเด็นดังกล่าวนี้
เป็นเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานบนพื้นฐานของความเสมอภาค ด้วยเหตุนี้เอง
ในวันแรงงานแห่งชาติหรือวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี องค์การด้านแรงงาน
ฝ่ายลูกจ้างจึงได้พยายามยกประเด็นปัญหาข้อนี้แสดงให้รัฐบาล และสภานิติบัญญัติ
93