Page 99 - kpiebook66013
P. 99
2. ส่วนที่สอง ส่วนที่เกี่ยวกับความสอดคล้องของบทกฎหมายแรงงานไทย
กับสนธิสัญญา (อนุสัญญา พิธีสาร และข้อแนะ) ในทางระหว่างประเทศที่องค์การ
แรงงานระหว่างประเทศ โดยมติสมัชชาใหญ่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ
ได้บัญญัติขึ้นและประกาศใช้ให้เป็นหลักการในการใช้และการจ้างแรงงานสากล
ในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแรงงาน ในส่วนนี้สิ่งที่ประเทศไทยควรให้ความส�าคัญ
เป็นพิเศษในฐานะที่มาจากภายนอกของกฎหมายแรงงานไทย ก็คือ การปรับปรุง
พัฒนา บทกฎหมายและแนวปฏิบัติ ให้สอดคล้องกับหลักการ 4 ประการ
ที่ปรากฏใน 8 อนุสัญญาที่เป็นอนุสัญญาในกลุ่มอนุสัญญาแกน อย่างไรก็ดี
การพัฒนากฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้และการจ้างแรงงานให้
สอดคล้องกับเนื้อหาของอนุสัญญาฉบับอื่นๆ แม้จะมีความส�าคัญรองลงมาก็ตาม
แต่ก็ย่อมเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยหากสามารถพัฒนากฎหมายและแนวปฏิบัติ
ให้สอดคล้องกับความในอนุสัญญาฉบับต่างๆ ได้ โดยเฉพาะอนุสัญญาที่ถูกจัดกลุ่ม
ไว้ในท�านองเดียวกับกลุ่มอนุสัญญาแกน แต่องค์การแรงงานระหว่างประเทศให้
ความส�าคัญเป็นล�าดับรองลงมา ได้แก่ กลุ่มอนุสัญญาเพื่อการบริหารจัดการแรงงาน
3. ส่วนที่สาม ส่วนที่เกี่ยวกับความสอดคล้องของบทกฎหมายแรงงานไทย
กับหลักการและแนวคิดสากลในหลากหลายประเด็นซึ่งมีส่วนเกี่ยวข้องกับ
ประเด็นด้านแรงงาน ส่วนนี้แม้จะไม่ใช่ภาคบังคับส�าหรับการพัฒนาปรับปรุง
บทกฎหมายแรงงานไทยก็ตาม แต่การตระหนักความส�าคัญและใช้เป็นกลไกเสริม
ในการพัฒนาแก้ไขบทกฎหมายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการแรงงานย่อมส่งผล
ให้กฎหมายแรงงานที่ได้รับการแก้ไขปรับปรุงนั้นมีความสอดคล้องกับสภาวะ
ความเป็นปัจจุบันและสามารปรับเปลี่ยนตามพลวัตที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้
แม้ว่าบทสรุปตามหลักวิชาการดังกล่าวทั้ง 3 ส่วนข้างต้นนี้ คือแนวทาง
(หลัก) ที่ควรน�าไปเป็นหลักในการพัฒนาบทกฎหมาย กฎเกณฑ์ และแนวปฏิบัติ
เกี่ยวกับการแรงงานของไทย แต่สถานการณ์อันเป็นบริบทแวดล้อมที่อาจเกิดขึ้นและ
สะท้อนปัญหาแรงงานของไทยนับเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลต่อเหตุผลและความจ�าเป็น
ในการพัฒนาแก้ไขบทบัญญัติกฎหมายแรงงานไทย ทว่า บริบทแวดล้อมเช่นว่านี้
อาจแบ่งพิจารณาได้เป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ กล่าวคือ ส่วนที่หนึ่ง บริบทแวดล้อมที่มี
99