Page 103 - kpiebook66013
P. 103
การใช้แรงงานที่ต้องค�านึงถึงสิทธิมนุษยชน และการน�า
ประเด็นด้านแรงงานเป็นตัวชี้วัดความน่าเชื่อถือและ
ความเหมาะสมในการลงทุน
ประเด็นที่ 10 การบริหารจัดการระบบความมั่นคงของสังคมให้มีเอกภาพ
ประเด็นที่ 11 การพัฒนาระบบการตรวจแรงงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประเด็นที่ 12 ปัญหาแรงงานต่างด้าว การค้ามนุษย์ และ IUU
ประเด็นปัญหาทั้ง 12 เรื่องดังกล่าวนี้ ประเด็นใดมีความส�าคัญมาก
และควรได้รับการพิจารณาแก้ไขเป็นล�าดับแรกก่อนหรือเป็นล�าดับหลังลดลั่นกันมานั้น
ย่อมเป็นดุลพินิจของผู้มีหน้าที่ในการบริหารจัดการเรื่องนั้นในการกล่าวอ้างเหตุผล
ที่มีหลักตรรกะรับฟังได้โดยอิงกับหลักวิชาการที่อาจเป็นหลักการทางนิติศาสตร์ หรือ
หลักการของศาสตร์วิชาอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาแรงงานนั้น อย่างไรก็ตาม
เพื่อเป็นการช่วยกลั่นกรองและตัดสินใจบนพื้นฐานของความส�าคัญก่อนหลังที่เป็นไป
ตามหลักการปราศจากบริบทแวดล้อมที่อันอาจเป็นอคติอ�าเภอใจที่เห็นโดยส่วนตัว
หรือส่วนคณะว่าเรื่องนั้นส�าคัญกว่าเรื่องอื่น ผู้วิจัยจึงได้น�าผลกระทบ 4 ด้าน
มาเป็นตัวแปรวัดความส�าคัญ อันได้แก่ ตัวแปรด้านบทกฎหมายและค�าพิพากษา
ตัวแปรด้านนโยบายและแผนชาติเกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมในประเด็นแรงงาน
ตัวแปรด้านแนวคิดและหลักการสากลเกี่ยวกับการแรงงานไทย และตัวแปร
ด้านสถานการณ์ที่ส่งผลต่อแรงงานของประเทศ โดยในแต่ละตัวแปรจะได้ก�าหนด
ตัวแปรรองเพื่อบ่งค่าความส�าคัญไว้ 3 ระดับคะแนน (1 คะแนน - 3 คะแนน)
และเมื่อพิจารณาจนได้ผลท้ายสุดแล้วก็ย่อมเห็นได้ว่าประเด็นปัญหาด้านแรงงาน
ทั้ง 12 เรื่องมีค่าคะแนนที่สะท้อนจากตัวแปรอันเป็นผลกระทบต่างกัน หมายความว่า
ประเด็นที่มีค่าคะแนนสูง ย่อมตีความตามหลักวิชาการได้ว่าเป็นเรื่องส�าคัญและ
เร่งด่วนกว่าเพราะส่งผลกระทบมากกว่า (หลายด้าน) และหรือ ผลกระทบดังกล่าวนั้น
เป็นเรื่องหรือกิจกรรมที่มีความส�าคัญกว่า (หนักกว่า) ประเด็นที่มีค่าคะแนนที่น้อยกว่า
อย่างไรก็ตาม การค�านวณค่าคะแนนดังกล่าวเกิดขึ้นจากการมองตามวิชาการที่
ในทางปฏิบัติอาจมีการน�าไปใช้อย่างมีเงื่อนไข (ประเด็นที่มีค่าคะแนนน้อยอาจได้รับ
การปรับปรุงก่อนก็ได้) หากมีความเหมาะสมและสอดรับกับนโยบายของรัฐบาล
หรือชาติในช่วงเวลานั้น
103