Page 46 - kpiebook66003
P. 46
45
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัย
มหิดล (2552) ได้สรุปรูปแบบการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมของสถานศึกษาว่า
ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก คือ ครู อาจารย์ เพราะถือเป็นตัวแบบที่เด็กยึดถือ
เป็นแบบอย่างได้ดีที่สุด ครูสามารถปลูกฝังจริยธรรมอันดีงามแก่เด็กได้
หลายรูปแบบ ดังนี้
1) ปลูกฝังด้วยการอบรมสั่งสอน คือ การสั่งสอนเด็กนักเรียนอย่าง
สมำ่าเสมอ ดูแลเอาใจใส่ และชี้แนวทางที่ดีแก่เด็ก สอดแทรกหลักคุณธรรม
จริยธรรมในบทเรียนประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีทั้งทางกาย วาจา และใจ
2) ปลูกฝังด้วยการน�าเสนอแบบอย่างของการกระท�าดี โดย
การเล่าเรื่องราวของบุคคลที่ถือเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม หรือให้ผู้ที่
ประสบความสำาเร็จในการเรียน การทำางานเป็นผู้แนะแนว และถ่ายทอด
ประสบการณ์ตรง
3) ปลูกฝังผ่านการจัดสภาพแวดล้อมและก�าหนดนโยบาย ทั้งนี้
ต้องมีการร่วมมือประสานงานกันระหว่างบ้าน โรงเรียน ชุมชน และสถาบัน
ศาสนาเพื่อขัดเกลาคุณลักษณะที่ดีในตัวเด็กตามที่สังคมคาดหวังและต้องการ
4) ปลูกฝังด้วยกระบวนการกลุ่ม ด้วยการจัดสภาพการเรียนรู้
ให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์ และคิดสร้างสรรค์ การปลูกฝังรูปแบบนี้จะได้ผลดียิ่งขึ้น
หากได้รับความร่วมมือจากกลุ่มผู้ปกครอง และชุมชน
5) ปลูกฝังโดยใช้แรงเสริม ด้วยคำาชมเชย ยกย่อง ให้รางวัล
เป็นครั้งคราว เพื่อให้พฤติกรรมที่ดีนั้น คงอยู่อย่างถาวร
6) ปลูกฝังโดยให้เผชิญกับปัญหาความขัดแย้ง เพื่อฝึกให้เด็ก
คิดวิเคราะห์ โต้แย้ง และตัดสินปัญหาร่วมกัน โดยนำาเรื่องที่เป็นสิ่งใกล้ตัว
นักเรียนมาจัดเป็นสถานการณ์ และใช้สื่อประกอบเพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจปัญหานั้น
มากขึ้น