Page 47 - kpiebook66003
P. 47
46 การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง
จากแนวทางต่าง ๆ สรุปได้ว่า การเสริมสร้างความซื่อตรงใน
สถานศึกษานั้น ต้องอาศัยกระบวนการทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ โดยเน้นที่
การปลูกฝังความซื่อตรงผ่านการลงมือปฏิบัติในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เห็น
ผลลัพธ์ในเชิงประจักษ์ด้วยตัวของเด็กเอง และต้องมีการฝึกฝนต่อเนื่องให้
เป็นวิถีชีวิตของเด็ก ทั้งนี้ จะต้องมีบริบททางสังคม เช่น การมีแบบอย่างที่ดี
ร่วมด้วย จึงจะทำาให้การเสริมสร้างความซื่อตรงประสบผลสำาเร็จ
2.3 การเรียนรู้แบบใหม่: ค่านิยมใหม่ เทคโนโลยี
และการเสริมสร้างความซื่อตรงในยุคดิจิทัล
เป็นที่ทราบกันดีว่า สังคมไทยทุกวันนี้เป็นสังคมยุคดิจิทัล
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลนี้ ทำาให้เกิดกระแส “เครือข่าย
สังคมออนไลน์” ที่ได้แพร่เข้ากลุ่มพื้นที่ความเป็นส่วนตัวของหลายคน
ภายในเวลารวดเร็ว โดยเฉพาะเฟสบุค ไลน์ ยูทูป ทวิตเตอร์ บล็อก และ
อินสตาแกรม เป็นต้น ซึ่งผลการสำารวจที่ผ่านมาพบว่า วัยรุ่นไทยมีการใช้
โทรศัพท์มือถือในรูปแบบออนไลน์ เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารหลัก
กับครอบครัวและเครือข่ายเพื่อนสนิท และใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ค ในการติดต่อ
กับผู้คนในวงกว้าง และยังพบว่าผู้ปกครองส่วนใหญ่ ไม่ขึ้นกับอาชีพหรือรายได้
ล้วนสนับสนุนกระบวนการสร้างการเรียนรู้ของเยาวชนตามแนวคิดแบบ
Constructionism ที่เน้นให้เยาวชนเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้เครื่องมือ
ด้านเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ท โดยผู้ปกครองจำานวนมาก
ไม่ทราบและไม่สนใจว่าเยาวชนใช้คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ทเพื่ออะไร
ขณะเดียวกันกลุ่มที่ตอบว่าทราบนั้น ได้ข้อมูลจากการคาดเดา โดยส่วนใหญ่
เข้าใจว่า เยาวชนใช้อินเตอร์เน็ท เพื่อการค้นคว้าด้านการศึกษา ในขณะที่