Page 49 - kpiebook66003
P. 49
48 การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง
เมื่อเราอยู่ในโลกยุคดิจิทัลและสังคมของการคิดค้นนวัตกรรม
ที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง โดยเฉพาะนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี
การสื่อสาร รูปแบบการใช้ชีวิตและการเรียนรู้ของเยาวชนในทุกวันนี้ ซึ่งได้ชื่อว่า
เป็นเยาวชนในยุคดิจิทัลนั้น จะต้องอยู่กับสื่อได้อย่างสร้างสรรค์และ
ได้รับประโยชน์ทางการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ซึ่งต้องมีทักษะในการเรียนรู้
และรู้เท่าทันสื่อด้วยทักษะต่าง ๆ ดังนี้
(1) ทักษะการเข้าถึงสื่อ: การเข้าถึงสื่อของเยาวชนนั้น คือ
การที่เยาวชนได้เข้าถึงสื่อได้อย่างเต็มที่และรวดเร็วทุกที่ทุกเวลาในปัจจุบัน
ซึ่งเยาวชนสามารถรับรู้และเข้าใจในเนื้อหาของสื่อในประเภทต่าง ๆ ได้เช่นใน
เว็บไซต์, เว็บบอร์ด, เครือข่ายสังคมออนไลน์ และ Wikipedia แหล่งข้อมูล
ออนไลน์ สิ่งเหล่านี้เยาวชนต้องมีทักษะความสามารถในการเข้าถึงและ
การใช้งานสื่อได้ พร้อมทั้งต้องทำาความเข้าใจเนื้อหา ความหมาย ประโยชน์
และคุณค่าของสื่ออย่างมีประสิทธิภาพถ่องแท้ พร้อมทั้งสามารถจดจำา
เข้าใจข้อมูลเนื้อหา ความหมายของคำาศัพท์ สัญลักษณ์ และเทคนิคที่ใช้ใน
การสื่อสารในสื่อต่างนั้น ๆ ได้ โดยเยาวชนต้องสามารถเลือกคัดกรองข้อมูล
ของสื่อที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับตนเองที่ต้องการได้
(2) ทักษะการคิดวิเคราะห์สื่อ: การคิดวิเคราะห์สื่อของเยาวชนนั้น
คือ การที่เยาวชนสามารถคิดวิเคราะห์ตีความเนื้อหาของสื่อได้ว่าสิ่งไหนดี
สิ่งไหนไม่ดี สิ่งที่สื่อนำาเสนอนั้นส่งผลกระทบอะไรบ้างต่อสังคม การเมือง
หรือเศรษฐกิจ โดยเยาวชนนั้นจะต้องใช้พื้นฐานความรู้ที่ได้รับจากการเรียนรู้
การสอน การปลูกฝังจากครอบครัวและสถาบันการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเหตุและผล โดยใช้หลักการวิเคราะห์พื้นฐาน
ของสื่อ โดยเยาวชนจะต้องสามารถคิดวิเคราะห์ใช้การเปรียบเทียบสื่อไหนดี
ไม่ดี หาความแตกต่าง ข้อเท็จจริง ความคิดเห็น เหตุและผลของสื่อที่เชื่อถือได้
หรือเชื่อถือไม่ได้ในโลกดิจิทัลนี้ได้