Page 133 - kpiebook66003
P. 133

132   การศึกษาเพื่อถอดบทเรียนและพัฒนาตัวแบบโรงเรียนแห่งความซื่อตรง




           (5) กำรวัดหรือประเมินผลที่ควรน�ำมำใช้

                   การวัดหรือประเมินผลที่ควรนำามาใช้ในกิจกรรมเสริมสร้าง

          ความซื่อตรงสำาหรับกลุ่มเยาวชน ผู้เข้าร่วมประชุมกลุ่มเห็นว่าควรเป็น
          การวัดผลเชิงพฤติกรรมในระยะยาวและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน โดยวิธีการวัดผล
          อาจทำาได้หลากหลาย แต่ควรพิจารณาให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่หรือ

          สภาพจริงของผู้เรียน

                   การวัดผลเชิงพฤติกรรมในระยะยาวและมีตัวชี้วัดที่ชัดเจน อาจวัด
          โดยพิจารณาผลการเรียนที่ดีขึ้น มีพฤติกรรมพึงประสงค์มากขึ้น การทำาผิด

          ระเบียบน้อยลง นักเรียนมีภาพลักษณ์ที่มีความสุขมากขึ้น มีการติดตาม
          การเรียนต่อในช่วงชั้นที่สูงขึ้น ไปจนถึงการประกอบอาชีพ ซึ่งอาจใช้ระยะเวลา

          และมีการวิจัยในระยะยาว การวัดเช่นนี้อาจต้องมีภาคีส่วนร่วมในการวัด
          เช่น ผู้ปกครองร่วมในการประเมินตามเครื่องมือที่โรงเรียนส่งไปให้ ผู้ปกครอง
          มีการรายงานซึ่งเป็นการประเมินแบบไม่เป็นทางการ เป็นการติดตามพฤติกรรม

          โดยผู้ปกครอง ว่าเด็กมีการปฏิบัติตัวที่บ้านด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องมีการประสาน
          ระหว่างครูและผู้ปกครอง นอกจากนี้ ชุมชน บุคคลภายนอกอาจช่วยประเมิน

          ผลได้ ควบคู่กับการประเมินเชิงปริมาณอย่างความพึงพอใจ

                   สำาหรับวิธีการประเมินผลที่หลากหลาย ได้แก่ แบบประเมิน
          การทำาแบบวัดเจตคติและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ การสังเกตพฤติกรรมอย่าง
          การแต่งกายที่ดีขึ้นและถูกระเบียบ การประเมินแบบเยี่ยมบ้านออนไลน์

          เพื่อติดตามว่าเด็กอยู่ที่บ้านได้ปฏิบัติตัวอย่างไรบ้าง การเขียนเรียงความ
          รายงานพฤติกรรมตนเองและใช้ภาพถ่ายก่อนหลังเพื่อประเมินพฤติกรรม

          ที่เปลี่ยนแปลงไป หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างครูในโรงเรียนเพื่อ
          ประเมินร่วมกันว่าพฤติกรรมเด็กเปลี่ยนไปเพียงใด ทั้งนี้ การประเมินแต่ละวิธี
          ควรประเมินตามสภาพจริงของผู้เรียน เพราะเด็กยุคใหม่บางคนทำาความดี

          แต่วิธีประเมินบางรูปแบบอาจไม่สามารถวัดผลการทำาความดีนั้นได้
   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137   138