Page 132 - kpiebook65066
P. 132

65






                              2.2.๕ โครงการการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณเด็กปฐมวัยโดยใชแนวคิดเรกจิโอ
                       เอมีเลียในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองลําพูนเพื่อลดความเหลื่อมล้ําดานสังคม และการศึกษา
                                     1) ที่มาของโครงการเกิดจากการวิเคราะหปญหาที่ชัดเจน ตรงจุด ทําใหสามารถ
                       แกไขปญหาความเหลื่อมล้ําทางการศึกษาไดอยางมีประสิทธิภาพ จากที่มาของโครงการสะทอนให

                       เห็นวา เทศบาลเมืองลําพูนไดใชขอมูลตาง ๆ ในการตัดสินใจเพื่อดําเนินโครงการ ไมวาจะเปน
                       ผลการวิจัยที่ไดทําการวิเคราะหผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผูเรียนทุกระดับ เพื่อหาสาเหตุของการที่
                       ผูเรียนมีผลสัมฤทธิ์ต่ํา ทําใหพบวาพัฒนาการของเด็กระดับปฐมวัย ที่เปนปจจัยสําคัญในการยกระดับ
                       ผลสัมฤทธิ์ของผูเรียน โดยตัวแปรในเรื่องการเอาใจใสดูแลของผูปกครองเปนตัวแปรหลักที่สําคัญที่สุด

                       ตอพัฒนาของเด็ก ในขณะที่ผูปกครองในเขตเทศบาลมีความแตกตางกัน ทั้งความแตกตางในเรื่อง
                       อาชีพของผูปกครอง การเปนกลุมคนเมือง และคนกลุมชาติพันธุที่มีวัฒนธรรมตางกัน อีกทั้งการที่
                       สิ่งแวดลอมรอบตัวทั้งภายใน และภายนอกบานในสังคมเมือง ทําใหความแตกตางดังกลาวยิ่งมีมากขึ้น
                                     นอกจากนี้เทศบาลเมืองลําพูน ยังไดเก็บรวมรวบขอมูลในทุกมิติที่เกี่ยวของ เพื่อใช

                       เปนขอมูลพื้นฐานเชิงสถิติเพื่อนํามาใชในการตัดสินใจ ทําใหพบวา (1) ดานผูเรียน พบวา เด็กปฐมวัย
                       ขาดทักษะความคิดริเริ่มสรางสรรค คิดเปนรอยละ 30.05 เด็กปฐมวัยไมกลาตัดสินใจในการทํา
                       กิจกรรมตาง ๆ ดวยตนเอง คิดเปนรอยละ 36.01 และเด็กปฐมวัยมีความหลากหลายทางดานเชื้อ

                       ชาติ และภาษา (พมา/ไทยใหญ) คิดเปนรอยละ 12.71 (2) ดานครูพบวา ครูมีการใชเทคนิควิธีการ
                       จัดกิจกรรมการเรียนรู และการเลือกสรรสื่อ เครื่องเลน สงเสริมพัฒนาที่ยังไมมีความหลากหลาย อีก
                       ทั้งครูยังเปนผูกําหนดกิจกรรมเปนสวนใหญ (3) ดานผูปกครองพบวา ผูปกครองมีสวนรวมในการจัด
                       ประสบการณคอนขางนอย (4) ดานชุมชนพบวา เด็กปฐมวัยไดเขารวมกิจกรรมการเรียนรูเกี่ยวกับ
                       ชุมชนคอนขางนอย

                                     ดังนั้นเทศบาลจึงเลือกที่จะทําการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนรูในโรงเรียน
                       เทศบาลทั้งหมด เพื่อทําใหผูปกครองที่แตกตางกัน สามารถเขามามีสวนรวมในการเรียนการสอนมาก
                       ยิ่งขึ้น ซึ่งจะสงผลทําใหพัฒนาของเด็กแตละคนไมแตกตางกัน จึงนํามาสูโครงการการพัฒนารูปแบบ

                       การจัดประสบการณเด็กปฐมวัยโดยใชแนวคิดเรกจิโอ เอมีเลียในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองลําพูน
                       เพื่อลดความเหลื่อมล้ําดานสังคม และการศึกษา
                                     2) การสนับสนุนผูบริหาร ความตั้งใจของบุคลากร ทําใหการเปลี่ยนแปลง
                       รูปแบบการสอนทั้งระบบของโรงเรียนเทศบาลเปนไปไดโดยงาย ดวยการดําเนินโครงการลักษณะนี้

                       เปนการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสรางขนาดใหญ เปนการเปลี่ยนแปลงระบบการเรียนการสอนแบบเดิม
                       มาเปนการเรียนการสอนรูปแบบใหมซึ่งยากที่จะเปลี่ยนแปลงไปไดหากไมไดรับการสนับสนุนจาก
                       ผูบริหารองคกรปกครองสวนทองถิ่น ทั้งในสวนของแนวคิด ทรัพยากร โดยเฉพาะงบประมาณ และ
                       ความทุมเทของบุคลากร โดยเฉพาะผูบริหารสถานศึกษา และครู ซึ่งจะตองเขารับการฝกอบรมเพื่อ

                       พัฒนาทักษะการสอน การนําเอาความรูไปสอน การถอดบทเรียนตาง ๆ ดังนั้นการสนับสนุนผูบริหาร
                       ความตั้งใจของบุคลากรของเทศบาลเมืองลําพูน ที่จะเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสอนเพื่อใหเด็กไดรับ
                       การศึกษาที่ทั่วถึง เทาเทียม สามารถพัฒนาตนเองได จึงเปนปจจัยที่ทําใหโครงการดังกลาวประสบ
                       ความสําเร็จ
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137