Page 118 - kpiebook65066
P. 118

51






                                     ดังนั้นเพื่อเปนการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนอื่น ๆ ใหสามารถรองรับเด็กในเขต
                       เทศบาลเมืองวิเชียรได เพื่อทําใหเกิดมาตรฐานในการจัดการเรียนการสอนเด็กใหมีคุณภาพเทาเทียม
                       กันไมวาจะเรียนในโรงเรียนใด เพื่อใหเด็กมีความพรอมในการเรียนในระดับสูงตอไปตอไป โดยเฉพาะ
                       บุคคลสําคัญที่จะเปนผูขับเคลื่อนการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย นั่นคือ ครูปฐมวัย เทศบาลเมือง

                       วิเชียรบุรีจึงไดจัดใหมีโครงการการศึกษาสภาพปญหาการจัดประสบการณการเรียนรูระดับปฐมวัย
                       เพื่อนําไปสูการกําหนดรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมือง
                       วิเชียรบุรีขึ้น โดยมีวัตถุประสงคในการดําเนินโครงการ 7 ประการ (1) เพื่อสํารวจสภาพปญหาการจัด
                       ประสบการณการเรียนรูของเด็กปฐมวัยสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี (2) เพื่อพัฒนา

                       รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี (3) เพื่อจัด
                       ประชุมสัมมนา การแลกเปลี่ยนเรียนรูในการพัฒนาครูระดับปฐมวัยของโรงเรียนในเขตเทศบาลฯ (4)
                       เพื่อนําโครงการ/กิจกรรมดังกลาวฯ เปนนโยบายของผูบริหาร (5) เพื่อนําโครงการ/กิจกรรมดังกลาวฯ
                       เขาสูแผนพัฒนาทองถิ่นของเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี (6) เพื่อสรรจัดงบประมาณโครงการ/กิจกรรม

                       ดังกลาวฯ ใหกองการศึกษาไดดําเนินการ และ (7) เพื่อจัดทําบันทึกขอตกลง (MOU) ระหวางเทศบาล
                       ฯกับโรงเรียนในเขตเทศบาลฯ โดยมีกลุมเปาหมายหลัก ไดแก ครูปฐมวัย บุคลากรทางการศึกษา และ
                       เจาหนาที่เกี่ยวของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรี จํานวน 50 คน และมีแผนดําเนิน

                       โครงการโดยเริ่มตั้งแตวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ถึงตุลาคม 2564
                                     2) ผลการติดตามโครงการ
                                            (2.1) เทศบาลไดดําเนินการจัดทําแบบสอบถาม และสงแบบสอบถาม
                       ปญหาการจัดประสบการณการเรียนรูของเด็กปฐมวัย เพื่อนําไปสูการกําหนดรูปแบบการพัฒนา
                       สมรรถนะครูปฐมวัยของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองวิเชียรบุรีใหกับครูปฐมวัยฯ โรงเรียนในเขต

                       เทศบาลเมืองวิเชียรบุรี ซึ่งผลการสํารวจพบวา (1) ดานการจัดทําหลักสูตรสถานศึกษา ครูปฐมวัยวัย
                       รวมประชุมระดมความคิดจัดทําหลักสูตรสถานศึกษาระดับปฐมวัยอยูในระดับมาก (คาเฉลี่ยเทากับ
                       4.09) ครูไดเคยผานการอบรม/ประชุมทําความเขาใจหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560

                       อยูในระดับ ปานกลาง (คาเฉลี่ย 3.49) (2) ดานการจัดประสบการณการเรียนรู ครูใชการเสริมแรง
                       หลากหลายวิธีเพื่อกระตุนการเรียนรูของเด็ก เชน ปรบมือ ใหคําชม ใหรางวัลอยูในระดับมาก
                       (คาเฉลี่ย 4.33) ครูมีวิธีการจัดกิจกรรมการสอนที่หลากหลาย เชน การสอนแบบโครงการ (Project
                       Appoarch) การสอนแบบใยแมงมุม (Web) อยูในระดับปานกลาง (คาเฉลี่ย 3.40)  (3) ดานการจัด

                       กิจกรรมสงเสริมการเรียนรูเด็กปฐมวัย โรงเรียนจัดกิจกรรมเสริมประสบการณการเรียนรูในวันสําคัญ
                       ตาง ๆ เชน วันสําคัญทางพุทธศาสนาวันเด็กอยูในระดับมาก (คาเฉลี่ย 4.42) โรงเรียนจัดมุมเลนน้ํา
                       เลนทรายใหเด็กไดเลนอยูในระดับปานกลาง (คาเฉลี่ย 3.42) (4) ดานการสนับสนุนจากผูบริหาร
                       ตระหนักเห็นความสําคัญของการจัดประสบการณ พัฒนาเด็กปฐมวัย อยูในระดับมาก (คาเฉลี่ย

                       4.35) จัดใหครูไดศึกษาดูงานในโรงเรียนอนุบาลดีเดน อยูในระดับปานกลาง (คาเฉลี่ย 3.63)
                                            (2.2) เทศบาล ไดจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรูการจัดประสบการณ
                       การเรียนรูระดับปฐมวัย ผลสรุปการสัมมนาฯ พบวา (1) ดานครูผูสอน ไดแก ครูขาดความรูเรื่อง
                       หลักสูตร และเทคนิคการสอน ครูไมไดจบในสาขาที่เกี่ยวการสอนปฐมวัย โดยตรง และครูมีภาระงาน

                       อื่นนอกเหนือจากการสอน (2) ดานการบริหารจัดการภายในของสถานศึกษา ไดแก อัตราสวน
   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123