Page 82 - kpiebook65057
P. 82
(Perception and Ideas) ว่าอะไรคือทรัพยากรที่ต้องจัดสรรและแบ่งปันกัน จะต้องจัดสรร
และแบ่งปันกับใคร และในเงื่อนไขใด จึงจะทำให้กลุ่มคนยอมรับได้ กล่าวอีกนัยหนึ่ง
ก็คือ ความคิดและความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางสังคมที่เกี่ยวกับการจัดสรร
แบ่งปันทรัพยากร (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และ สุธี ประศาสน์เศรษฐ, 2557,
หน้า 73-74)
วัฒนธรรม เป็นวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่ง
หมายรวมถึง ความคิด ศิลปะ ปรัชญา ดนตรี ศีลธรรม ภาษา กฎหมาย ความเชื่อ
ค่านิยม ขนบธรรมเนียมประเพณี สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้น วัฒนธรรมจึงเป็น
การแสดงออกซึ่งความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การมีศีลธรรม
อันดีของประชาชน (สมชัย ใจดี และ ยรรยง ศรีวิริยาภรณ์, 2527 อ้างถึงใน
พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, 2561, หน้า 418)
วัฒนธรรมทางการเมือง จัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทั้งหมด ดังนั้น
คำจำกัดความของคำว่า “วัฒนธรรมทางการเมือง” จึงคล้ายกับคำจำกัดความของ
คำว่า “วัฒนธรรม” อีกทั้งยังมีลักษณะการถ่ายทอดจากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คน
อีกกลุ่มหนึ่ง เช่น ครอบครัว ศาสนา ชุมชน สังคม กลุ่มเพื่อน สื่อมวลชน ระบบ
การเมือง (ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557, หน้า 29)
วัฒนธรรมทางการเมือง หมายถึง ค่านิยม ทัศนคติ และความเชื่อทางการเมือง
ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับจิตวิทยาสังคมและวัฒนธรรมของระบบการเมือง โดย
วัฒนธรรมการเมืองเกิดขึ้นจากการฝ่ึกฝ่น อบรม ขัดเกลาและปลูกฝ่ังสืบเนื่องต่อกันมา
จนเป็นการยอมรับและยึดถือเป็นแนวทางปฏิิบัติในชีวิตประจำวัน (ถวิลวดี บุรีกุล
และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557, หน้า 11)
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2546) ได้ให้คำอธิบายของคำว่า การมีส่วนร่วม
คือ กระบวนการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเรียนรู้
ร่วมคิดริเริ่ม ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิิบัติและร่วมตรวจสอบ โดยใช้พลังความสามารถ
ในด้านต่างๆ ของตนเองร่วมกับความรู้และวิทยาการที่เหมาะสมอย่างสร้างสรรค์
27