Page 85 - kpiebook65057
P. 85
(พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, 2561, หน้า 435) วัฒนธรรมทางการเมือง
แบบประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเกิดการทำหน้าที่ของการเป็นพลเมืองในกลุ่มคน
ส่วนใหญ่ของประเทศ จนกลายเป็นค่านิยมของประชาชนหมู่มากในสังคม เช่น
การคิดถึงประโยชน์ส่วนรวม การวิพากษ์วิจารณ์นโยบายของรัฐบาล การปกป้องผล
ประโยชน์ของสังคม (พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, 2561, หน้า 418)
Almond, Gabriel & Verba และ Sidney เห็นว่า การที่สังคมใดมีวัฒนธรรม
การเมืองแบบมีส่วนร่วมอาจไม่ได้ทำให้สังคมนั้นเป็นสังคมประชาธิปไตยโดย
อัตโนมัติ เนื่องจากการมีส่วนร่วมที่ให้ผลประโยชน์ที่คับแคบอาจทำให้เกิดประโยชน์
ต่อคนบางกลุ่ม ซึ่งไม่ใช่ลักษณะของการเป็นประชาธิปไตย ด้วยเหตุนี้ Almond,
Gabriel & Verba และ Sidney จึงเห็นว่าวัฒนธรรมการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยนั้น
เป็นลักษณะวัฒนธรรมการเมืองแบบพลเมือง (civic culture) ซึ่งเป็นการเน้นเรื่อง
ทัศนคติและคุณค่าของประชาชนที่มีต่อการเมือง โดยเชื่อว่าทัศนคติหรือวัฒนธรรม
การเมืองแบบพลเมืองมีส่วนในการเสริมสร้างเสถียรภาพหรือความมั่นคง
ของประชาธิปไตย (ชัยอนันต์ สมุทวาณิช, 2524 อ้างถึงใน พระครูวินัยธรจักรี
ศรีจารุเมธีญาณ, 2561, หน้า 425)
สำหรับการอธิบายวัฒนธรรมทางการเมืองไทย ที่มีลักษณะและ
ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของการก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ราบรื่นนัก
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและอธิบายภายใต้การทำความเข้าใจความเป็นไป
ทางการเมืองและสังคมของไทย เพื่อนำไปสู่การอธิบายและเข้าใจอย่างแท้จริง ทั้งนี้
งานของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2538, หน้า 137) ได้ช่วยทำให้มองภาพและบริบทแวดล้อม
ของการแสดงออกทางวัฒนธรรมทางการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี โดยได้นิยาม
วัฒนธรรมทางการเมืองว่ามี 2 ระดับ
ระดับแรก คือ วัฒนธรรมทางการเมืองในความหมายกว้าง คือ ในฐานะ
ที่เป็นวิถีชีวิต (Way of Life) หมายถึง วิถีชีวิต วิถีความคิด และค่านิยมของสังคม
ที่กำหนดว่าบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ในรัฐหนึ่งนั้น พึงมีความสัมพันธ์กัน
ในเชิงอำนาจอย่างไร
30