Page 90 - kpiebook65057
P. 90
อาจกล่าวสรุปได้ว่า วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นตัวกำหนดพฤติกรรม
ทางการเมืองของบุคคลในสังคม โดยที่วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นผลผลิตของ
กระบวนการเรียนรู้ทางการเมือง กล่าวคือ กระบวนการเรียนรู้ทางการเมืองมีอิทธิพล
ที่สำคัญต่อการสร้างทัศนคติ ค่านิยม และความเชื่อที่เป็นการกำหนดพฤติกรรม
ทางการเมือง และความโน้มเอียงทางการเมืองที่เป็นรูปแบบวัฒนธรรมทางการเมือง
2.1.6 แนวคิดค่านิยมทางการเมือง (Political Value)
ค่านิยมทางการเมือง คือ ชุดความคิดที่ถูกปลูกฝ่ัง โดยเป็นความคิด
ทางการเมืองที่สังคมหรือประเทศให้ความสำคัญ พึงปรารถนา ไม่พึงปรารถนา หรือ
เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดี การให้การศึกษาทางการเมืองก็เป็นกระบวนการหนึ่งในการที่จะ
สร้างค่านิยมทางการเมือง โดยค่านิยมทางการเมืองเป็นส่วนหนี่งของวัฒนธรรม
ทางการเมือง ค่านิยมมีผลอย่างมากต่อตัวบุคคล เนื่องจากปัจเจกบุคคลย่อมอยากได้รับ
การยอมรับจากคนในสังคม การมีค่านิยมที่คล้ายคลึงกันจะทำให้รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคม และเข้ากับสังคมได้มากกว่า
วัฒนธรรม คือ การยึดถือปฏิิบัติสืบต่อกันมาและถือว่าเป็น “คุณค่า”
หลักที่สำคัญของสังคม ระบอบการเมืองหรือระบอบประชาธิปไตยไม่ใช่วัฒนธรรม
ทางการเมืองของไทย ประชาชนหรือชนชั้นนำ หรือสังคมของคนที่สนใจและ
มีความประสงค์จะเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ก็ไม่เคยมีความรู้สึกว่าเป็นคุณค่า
ที่สังคมไทยยึดถือ คุณค่าของการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดชะตากรรมของบ้านเมือง
แต่ได้ยกให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้มีอำนาจที่จะบังคับบัญชาเพื่อความสงบเรียบร้อย
ปราศจากความขัดแย้ง ไม่แบ่งเป็นฝ่ักเป็นฝ่�าย (วีรพงษ์ รามางกูร, ออนไลน์, 2561)
เนื่องจากวัฒนธรรมทางการเมืองของบ้านเราไม่ใช่วัฒนธรรมประชาธิปไตย
นิยม แต่เป็นวัฒนธรรม “อำนาจนิยม” คุณค่าทางการเมืองของสังคมไทยจึงไม่ใช่
35