Page 94 - kpiebook65057
P. 94
สิ่งที่เราทำไปนั้น ผู้อื่นก็จะตอบรับกลับมาในทางเดียวกัน ความสัมพันธ์ดังกล่าว
จึงก่อตัวเป็นสถาบัน (institution) และจุดมุ่งหมายของสถาบันก็คือการจัดการกับ
ปัญหาที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ (collective action problem) แต่ต้องอาศัย
ความร่วมมือระหว่างสมาชิกทั้งหลายในสังคมและมีทุนทางสังคมเป็นตัวขับเคลื่อน
ความสัมพันธ์ดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ในระดับสากลคำว่าทุนทางสังคมก็ยังมีอีกหลายนิยามที่อาจ
จะสอดคล้องหรือขัดแย้งในบางประเด็น แต่จุดร่วมที่มีอยู่ด้วยกันคือการใช้คำว่า
ทุนทางสังคมในการสร้างความร่วมมือทางสังคม ทุนทางสังคมโดยตัวของมันเอง
นั้นมิได้เป็นปัจจัยการผลิตโดยตรง หากแต่เป็นตัวกลางในการเข้าถึงปัจจัยการผลิต
หรือทุนอื่น เช่น ข่าวสารข้อมูล ทุนมนุษย์ (human capital) ทุนกายภาพ (physical
capital) ทรัพยากรธรรมชาติ (natural resources) เป็นต้น ในต้นทุนหรือราคาที่ถูกลง
โดยผ่านความสัมพันธ์ทางสังคมหรือโครงสร้างทางสังคมที่แต่ละสมาชิกทำหน้าที่
ตามบทบาทตัวเองอย่างเหมาะสม ทุนทางสังคมจึงเป็นรากฐานในความร่วมมือกัน
ทางสังคม ซึ่งจะส่งเสริมทั้งการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและพัฒนาการ
ทางการเมือง (สินาด ตรีวรรณไชย, ออนไลน์, 2548)
อานันท์ กาญจนพันธ์ (2541) กล่าวว่า ทุนนทางสังคม คือ วิธีคิด ระบบ
ความรู้ในการจัดการวิถีของความเป็นชุมชน เช่น การจัดการทรัพยากร การจัดระบบ
ความสัมพันธ์ในการอยู่ร่วมกันในสังคม ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับ
มนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติ ซึ่งต้องอาศัยความรู้และภูมิปัญญา รวมถึงการสร้าง
กฎกติกาเพื่อใช้ในการกำกับดูแลสิ่งต่างๆ ร่วมกัน โดยอาจอยู่ในรูปของประเพณี
วัฒนธรรม กฎหมาย หรือข้อบัญญัติของชุมชน รวมถึงการมีองค์กรที่เข้ามาทำหน้าที่
คอยดูแลในเรื่องต่างๆ เช่น การใช้ทรัพยากรต่างๆ การจัดการทุน เป็นต้น (พัฒนพงศ์
สุกิจปาณีนิจ, 2552, หน้า 11-12)
นอกจากนี้ อานันท์ยังกล่าวถึงทุนทางสังคมเดิมของสังคมไทย ซึ่งเป็น
จุดเชื่อมต่อที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้ความหมายในเรื่องต่าง ๆ คือ มิติทางวัฒนธรรม
39