Page 96 - kpiebook65057
P. 96
ของชุมชน ทุนทางสังคมเกิดจากการสั่งสมองค์ความรู้และภูมิปัญญาของสังคม
มาตั้งแต่ในอดีตและนำมาปรับใช้ในการกำหนดกติกา แบบแผน ประเพณี วัฒนธรรม
ของชุมชน
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เห็นว่า
หากมีการพัฒนาทุนทางสังคมและนำมาใช้ประโยชน์อย่างถูกต้องจะมีส่วนช่วยทำให้
การพัฒนาประเทศมีความยั่งยืนและประชาชนส่วนใหญ่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ในสถานการณ์ที่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ได้กำหนดความหมายของ
ทุนทางสังคม ในบริบทของสังคมไทยไว้ดังนี้
ทุนทางสังคม ในความหมายของ World Bank ได้แสดงหลักฐานที่ชี้ให้เห็นว่า
การเพิ่มขึ้นของความยึดเหนี่ยวกันในสังคม สามารถนำไปพัฒนาเศรษฐกิจและ
ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน (วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์, 2548, หน้า 19) อย่างไรก็ตาม
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540 ทุนทางสังคมถูกใช้เป็นวาทกรรมการพัฒนา
ของธนาคารโลก ที่นำมาสู่โครงการดำเนินการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment
Project และ Social Investment Fund) ซึ่งทั้งสองกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้้�นฟืู้
เศรษฐกิจและสังคม อย่างไรก็ตามการปรับใช้ทุนทางสังคมดังกล่าวอาจก่อให้เกิด
ผลกระทบในการจำกัดเสรีภาพของบุคคล และลดระดับของบรรทัดฐานในชุมชน
และถึงแม้ว่าทุนทางสังคมจะส่งผลต่อความไว้วางใจต่อกันและกัน ซึ่งมีผลต่อ
การสร้างมูลค่าเพิ่มในทางเศรษฐกิจ แต่ทุนทางสังคมก็สามารถนำไปสู่การสร้างเครือข่าย
ผิดกฎหมายได้เช่นเดียวกัน เช่น เครือข่ายค้ามนุษย์ เครือข่ายอาชญากรรม เป็นต้น
(Field John, 2003)
กองทุนเพื่อสังคม (SIF) มองว่า ทุนของชุมชนเป็นทุนทางสังคมอย่างหนึ่ง
ที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งประกอบด้วย (ทุน) ฐานทรัพยากรธรรมชาติ และฐานวัฒนธรรม
ความเอื้อเฟื้้�อเผื่อแผ่ การหลอมจิตใจ หลอมความคิด และผนึกกำลัง การสร้าง
ทักษะในการจัดการ รวมทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งทั้งหมดจะส่งเสริมให้เกิด
ความเอื้ออาทรและความสามัคคี ที่ทำให้คนมีความเสียสละที่จะทำงานร่วมกัน
41