Page 97 - kpiebook65057
P. 97
โดยมีการระดมกำลังความคิด ความรู้ สติปัญญา และความชำนาญที่มีอยู่ ไปใช้
ในการจัดการแก้ไขปัญหาร่วมกัน (วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์, 2548, หน้า 39)
อเนก นาคะบุตร (2545, หน้า 39) กล่าวถึง ทุนทางสังคมในลักษณะของ
ความเข้มแข็งของชุมชนว่า มิใช่เป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย แต่หากเป็น
คุณค่าเดิมที่สังคมไทยมีอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นความมีน้ำใจต่อกัน การแบ่งปันซึ่งกัน
และกัน ความเอื้ออาทรต่อกัน การเกาะเกี่ยวกันทางสังคม การรวมกลุ่มเป็นองค์กร
หรือการจัดตั้งเป็นเครือข่ายต่างๆ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มเกษตรผสมผสาน เครือข่าย
โรงสีชุมชน เป็นต้น ทุนทางสังคมนี้ คือ พลังที่จะขับเคลื่อนชุมชนต่างๆ ให้มี
ความสามารถในการเพิ่มมูลค่าและทุนทางสังคมให้กับชุมชนตนเองมากขึ้น
มีความเท่าทันต่อปัญหาและมีความสามารถในการจัดการกับปัญหาได้มากขึ้น และ
ท้ายที่สุดสามารถพึ่งพาตนเองได้จริงในระยะยาว
ประเวศ วะสี (2542, หน้า 101) มองว่า ทุนทางสังคมเป็นพลังทางสังคม
ในการแก้ปัญหาวิกฤตของสังคมได้ โดยให้ความหมายทุนทางสังคมว่า “การที่คนมา
รวมกัน เอาความดีมารวมกัน เอาความรู้มารวมกัน เพื่อแก้ปัญหาของสังคม”
อัมมาร สยามวาลา (2544, หน้า 40) กล่าวถึงทุนทางสังคมว่า “เป็นทรัพยากร
ของชุมชนในการแก้ไขปัญหา ทรัพยากรที่สำคัญ คือ สติปัญญาและความเอื้ออาทร
ต่อกัน สิ่งเหล่านี้คือ ทุนทางสังคม” โดยนัยนี้ ทุนทางสังคมก็นับเป็นมิติในรูปแบบ
ของทรัพยากรของชุมชนอันประกอบด้วย เรื่องของค่านิยม ความเอื้ออาทรต่อกัน
รวมทั้งเรื่องของสติปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนที่สมควรนำออกมาประยุกต์ใช้ในการ
พัฒนาสังคม
อมรา พงศาพิชญ์ (2543, หน้า 40-41) ให้ความหมายทุนทางสังคม คือ
ความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งในแนวราบและแนวตั้ง ระหว่างบุคคล สถาบัน และ/หรือ
องค์กรต่าง ๆ ทั้งในรูปปัจเจก กลุ่ม และเครือข่าย ทั้งค่านิยม บรรทัดฐานที่สังคม
ยึดถือ ซึ่งมีผลต่อวิถีการผลิตในระดับครอบครัว ชุมชน และประชาคม นอกจากนี้
42