Page 95 - kpiebook65057
P. 95

โดยมิติทางวัฒนธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ชุมชนพยายามจะรื้อฟื้้�นขึ้นมา เพราะมีนัยสำคัญ
             ทางสังคมเพื่อประโยชน์ของชุมชน ไม่ว่าจะเป็นในแง่ของการปลูกจิตสำนึก หรือรักษา
             สำนึกของชุมชน และเครือข่ายของชุมชนที่ต้องสัมพันธ์กันในการดำรงชีวิต และ

             มักเกี่ยวข้องกับฐานทรัพยากรที่ชุมชนต้องอ้างอิงอาศัย ไม่ว่าจะเป็น แม่น้ำ ลำคลอง
             ป�าต้นน้ำ ทะเล โดยจะเห็นได้จากมิติของความสัมพันธ์ผ่านงานบุญ ประเพณี

             พิธีกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เตือนให้รู้ว่าชีวิตเราที่อยู่มาได้ก็เพราะสำนึกในคุณค่า
             ของทรัพยากรและร่วมกันรักษา อีกทั้งยังมีความหมายในแง่ที่เป็นการยืนยันในคุณค่า
             หรือกฎเกณฑ์์ทางสังคมบางอย่าง เช่น กฎเกณฑ์์ข้อห้ามเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากร

             ส่วนรวมร่วมกัน เป็นต้น


                     ส่วนการระดมทุนเพื่อสังคม อานันท์กล่าวว่า ทุนทางสังคมที่อยู่บนพื้นฐาน
             ทางความคิดและอุดมการณ์ของระบบสวัสดิการในสังคมไทยนั้น อยู่ภายใต้หลักการ

             ที่สำคัญ 2 ประการ คือ การต่างตอบแทนกัน (Reciprocity) และหลักการใช้ประโยชน์
             ร่วมกัน (Communality) ดังนั้น จะเห็นได้ว่า อานันท์ได้เสนอทุนทางสังคมในมิติ

             ที่เป็นระบบคิดหรือวิธีคิดกับวิธีปฏิิบัติหรือระบบความรู้ในการจัดการกับวิถีชุมชน
             ไว้อย่างชัดเจน และได้นำเสนอมิติทางวัฒนธรรมว่ามีความเชื่อมโยงกับเรื่องทุน
             ทางสังคมอย่างใกล้ชิด



                     วิทยากร เชียงกูล และพรภิรมณ์ เอื่อมธรรม (2547, หน้า 236) ได้ให้
             ความหมายทุนทางสังคมว่า ทุนที่มาจากภูมิปัญญา ศิลปะ วัฒนธรรม วินัย ระเบียบ
             ประเพณีที่สังคมสั่งสมไว้ และอาจนำมาใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาสังคมได้ โดย

             ไม่จำเป็นต้องพึ่งทุนที่เป็นตัวเงิน (Money Capital) เสมอไป ทุนทางสังคมยังหมายถึง
             เครือข่าย ความร่วมมือของมนุษย์ ซึ่งทำงานร่วมกันเพื่อประโยชน์ขององค์กร ชุมชน

             ดังนั้นจึงมีความหมายที่กว้างขวาง และเป็นประโยชน์มากกว่าทุนมนุษย์ (Human
             Capital) หรือทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) ที่อาจจะเป็นของปัจเจกชน


                     โดยสรุปทุนทางสังคมเป็นลักษณะของปฏิิสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งประกอบด้วย

             ความไว้วางใจทางสังคม การพึ่งพาและช่วยเหลือเกื้อกูลกันทางสังคม การมีส่วนร่วม





                                               40
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100