Page 91 - kpiebook65057
P. 91
การมีส่วนร่วมในกิจการบ้านเมืองของประชาชน แต่ยอมรับอำนาจรัฐหรือตัวแทน
ของรัฐที่สามารถจัดการให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย แม้จะเป็นรัฐบาลเผด็จการที่ไม่
ได้มีที่มาจากประชาชนก็ตาม เมื่อคุณค่าทางการเมืองไม่ใช่การมีส่วนร่วมของตน
ในกิจการการเมืองหรือระบอบประชาธิปไตย ความสนใจที่จะทำความเข้าใจระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตยจึงไม่มี การต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนระบอบการปกครอง
ก็ไม่มี แม้บางครั้งจะมีการลุกขึ้นประท้วง หรือลุกขึ้นต่อต้าน หรือลุกขึ้นเรียกร้อง
ถูกจัดขึ้นโดยกองทัพก็เป็นการลุกขึ้นประท้วงต่อต้านบุคคล ไม่ใช่การลุกขึ้นต่อต้าน
ระบบอำนาจนิยมและเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย (วีรพงษ์ รามางกูร, ออนไลน์,
2561)
2.1.7 ทฤษฎีการกดดันทางสังคม (Nudge Theory)
ทฤษฎีผลักดัน (Nudge Theory) คิดค้นโดย ริชาร์ด เธเลอร์ (Richard
Thaler) นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์
ปี 2017 โดยที่มาของทฤษฎีผลักดันมาจากแนวคิดที่ริชาร์ดมองว่า มนุษย์เป็นสิ่ง
มีชีวิตที่ไม่มีเหตุผล ทำให้พฤติกรรมที่แสดงออกมาเกิดขึ้นจากการเอนเอียงไปกับ
สิ่งแวดล้อมรอบตัว หรือตามสถานการณ์ในช่วงเวลานั้น ดังนั้นแนวทางในการทำให้
มนุษย์ตัดสินใจเลือกในสิ่งที่มีเหตุผลมากขึ้นคือการออกแบบสถานการณ์ขึ้นมาเพื่อ
ผลักดันให้คนเลือกทำในสิ่งที่ควรจะทำหรือสิ่งที่ต้องทำ ทฤษฎีผลักดันเป็นส่วนหนึ่ง
ของสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Economics) ซึ่งเป็น
การออกแบบสถานการณ์หรือทางเลือกที่จะผลักดันให้คนเลือกสิ่งที่ดีโดยอัตโนมัติ
และเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์เชิงพฤติกรรมของมนุษย์กับสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น
ทั้งทางการเมือง และเศรษฐศาสตร์ เช่น การออกแบบสถานการณ์ที่ผลักดัน
ให้คนออกมามีส่วนร่วมทางการเมือง การเสริมแรงที่เป็นการสร้างแรงจูงใจแทน
การบังคับให้คนมีพฤติกรรมที่จะทำบางสิ่ง เช่น การใช้ทฤษฎีผลักดันในการออก
มาตรการทางภาษีของพลเมืองที่รัฐบาลทำการเปิดเผยรายชื่อพลเมืองที่เสียภาษี
36