Page 87 - kpiebook65057
P. 87
1.3) การที่ชาวบ้านเข้าถึงทรัพยากรได้ต่างกัน ในหมู่บ้านจึงมีทั้งกลุ่มคนรวย
และกลุ่มคนจน อันนำไปสู่การเกิดความสัมพันธ์ในเชิงอุปถัมภ์
ระบบอุปถัมภ์ในหมู่บ้านจึงเป็นความสัมพันธ์ในเชิงแลกเปลี่ยน
ระหว่างคนจนกับคนรวย คือ คนรวยกว่าต้องให้คนจนที่อยู่ใน
อุปถัมภ์ของตนเองได้ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยคนจนแลกการได้ใช้
ทรัพยากรด้วยการยอมรับไปเป็นลูกน้องหรือแรงงาน
2. วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นสูงที่มีศูนย์กลางอยู่ที่พระมหากษัตริย์
โดยพัฒนามาจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นผลผลิต
จากการขยายตัวของจักรวรรดินิยมในรูปลัทธิล่าอาณานิคม โดยชนชั้นสูงจะทำ
การสร้างรัฐสมัยใหม่ (Modern State) ที่ไม่มีฐานความเป็นจริงในชีวิตของชาวบ้านไทย
แต่กลายมาเป็นวัฒนธรรมที่ครอบงำสังคมไทยได้โดยอาศัยการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่
ส่วนกลาง ทั้งในแง่พื้นที่ทางภูมิศาสตร์และพื้นที่ทางวัฒนธรรม ดังนั้นอำนาจซึ่งเคย
กระจายอยู่อย่างหลากหลายในสังคมไทยจึงมากระจุกอยู่แต่เฉพาะส่วนกลาง
ที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแล้วใช้อำนาจที่เป็นทางการ (Authority) เป็นหลัก
เช่น การปฏิิรูประบบราชการสมัยใหม่ การสร้างระบบกฎหมายแบบตะวันตก
3. วัฒนธรรมทางการเมืองของชนชั้นกลาง เป็นวัฒนธรรมเกี่ยวกับ
การเลือกตั้งควบคู่ไปกับการรัฐประหารและเน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม
ทางการเมืองนี้เป็นผลมาจากความขัดแย้งภายในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
โดยตรง เนื่องจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ก่อให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นมา
2 กลุ่ม คือ พ่อค้าจีนซึ่งสามารถมีเสรีภาพในการค้าภายใต้ระบบเศรษฐกิจ
ที่มีจักรวรรดินิยมเป็นผู้ครอบงำ ขณะเดียวกันพ่อค้าจีนก็เป็นมิตรกับชนชั้นปกครอง
ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อีกทั้งชนชั้นกลางที่เป็นกลุ่มข้าราชการได้เป็นผู้นำ
ในการสร้างระบอบการเมืองใหม่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ซึ่งเป็นการเมืองของระบบราชการที่มีทั้งการเลือกตั้งและกรทำรัฐประหาร
จนเปรียบเสมือนเหรียญเดียวกันที่มีสองด้าน (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และ
สุธี ประศาสน์เศรษฐ, 2557, หน้า 74-77)
32