Page 83 - kpiebook65057
P. 83
พร้อมไปกับการเป็นผู้รับแบ่งปันผลประโยชน์และร่วมกันรับผิดชอบในผลกระทบ
ที่ตามมาด้วย (ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557, หน้า 22)
นอกจากนี้ ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2552) ยังได้กล่าวถึงความหมายของ
การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิในกระบวนการ
นโยบายสาธารณะทั้งในด้านการให้และรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความคิดเห็น
หรือข้อเสนอแนะ การร่วมตัดสินใจ ทั้งในขั้นตอนริเริ่มนโยบาย การจัดทำแผนงาน
โครงการหรือกิจกรรมที่อาจมีผลต่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม การวางแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคม การจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งการปฏิิบัติ
การติดตามและประเมินผลตามนโยบายแผนงานโครงการหรือกิจกรรมนั้น
วัฒนธรรมทางการเมือง เป็นเครื่องมือชี้แนะแนวทางในการประพฤติ
ปฏิิบัติทางการเมืองแก่บุคคล วัฒนธรรมทางการเมืองเปรียบเสมือนแผนที่ของค่า
นิยมและบรรทัดฐานทางการเมืองที่ช่วยทำให้การทำงานของสถาบันและองค์กร
ทางการเมืองต่างๆ มีความสอดคล้องกัน (ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด,
2557, หน้า29)
ชำนาญ จันทร์เรือง ให้ความหมายวัฒนธรรมทางการเมือง (Political
culture) หมายถึง แบบแผนของทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดของบุคคลต่อ
กระบวนการทางการเมือง วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละชุมชนก็จะมีความเป็นตัว
ของตัวเองซึ่งถูกกำหนดขึ้นหรือได้รับอิทธิพลจากสภาวะแวดล้อม เช่น ประวัติศาสตร์
ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางการเมือง (Political
socialization) โดยสถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน กลุ่มสังคมและ
สื่อมวลชน เพื่อที่จะถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นหนึ่งอย่าง
ต่อเนื่อง และมีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ อยู่เสมอ
(ชำนาญ จันทร์เรือง, ออนไลน์, 2559)
ขณะที่ Almond & Verba (1965) ได้แบ่งวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่
28