Page 81 - kpiebook65057
P. 81
ออกเป็นสามประเภท คือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม แบบคับแคบ
และแบบไพร่ฟื้้า โดยที่แต่ละประเทศจะมีลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองแบบผสม
ผสาน ซึ่งจะเชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน อันจะส่งผลต่อ
เสถียรภาพทางการเมืองและดุลยภาพทางการเมือง (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และ
สุธี ประศาสน์เศรษฐ, 2557, หน้า 72-73)
นักวิชาการอีกคนที่เป็นที่รู้จักคือ ลูเซียน พาย (Lucien Pye, 1996, p.104-
105) ได้นิยามวัฒนธรรมทางการเมืองว่า คือ ทัศนคติ ความเชื่อ และความรู้สึกเกี่ยวกับ
กระบวนการทางการเมือง เนื่องจากสิ่งเหล่านี้กำหนดพฤติกรรมของปัจเจกบุคคล
ในระบบการเมือง ทั้งนี้ครอบคลุมอุดมการณ์ทางการเมือง บรรทัดฐานในการปฏิิบัติ
ทางการเมืองของบุคคล ฉะนั้น วัฒนธรรมทางการเมือง จึงมีมิติทางด้านจิตวิทยาและ
ความรู้สึกนึกคิดทางการเมือง (รุ้งนภา ยรรยงเกษมสุข และ สุธี ประศาสน์เศรษฐ,
2557, หน้า 73)
สำหรับการอธิบายวัฒนธรรมทางการเมืองไทย ที่มีลักษณะและ
ประวัติศาสตร์ทางการเมืองของการก้าวสู่การเป็นประชาธิปไตยที่ไม่ราบรื่นนัก
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาและอธิบายภายใต้การทำความเข้าใจความเป็น
ไปทางการเมืองและสังคมของไทย เพื่อนำไปสู่การอธิบายและเข้าใจอย่างแท้จริง
ทั้งนี้งานของนิธิ เอียวศรีวงศ์ (2538, หน้า 137) ได้ช่วยทำให้มองภาพและบริบท
แวดล้อมของการแสดงออกทางวัฒนธรรมทางการเมืองไทยได้เป็นอย่างดี โดย
ได้นิยามวัฒนธรรมทางการเมืองว่ามี 2 ระดับ
ระดับแรก คือ วัฒนธรรมทางการเมืองในความหมายกว้าง คือ ในฐานะ
ที่เป็นวิถีชีวิต (Way of Life) หมายถึง วิถีชีวิต วิถีความคิด และค่านิยมของสังคม
ที่กำหนดว่าบุคคลและสถาบันต่าง ๆ ในรัฐหนึ่งนั้น พึงมีความสัมพันธ์กัน
ในเชิงอำนาจอย่างไร
ระดับที่สอง คือ วัฒนธรรมทางการเมืองในความหมายแคบ คือ ในฐานะ
ที่เป็นระบบความคิด (Way of Thinking) หมายถึง ความคิดและความเข้าใจ
26