Page 84 - kpiebook65057
P. 84
1. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture) คือ
วัฒนธรรมทางการเมืองของบุคคลที่ไม่รู้ ไม่สนใจการเมือง และไม่คิดว่าจะได้รับ
ผลกระทบจากการเมือง ดังนั้นทำให้คนเหล่านี้ไม่คิดที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง
ทำให้ประชาชนมีสำนึกทางการเมืองต่ำ และขาดการมีส่วนร่วมทางการเมือง
2. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟื้้า (subject political culture) คือ
การที่บุคคลมีความสนใจการเมืองบ้าง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะ
คิดว่าตนไม่มีอำนาจหรืออิทธิพลต่อการเมืองของประเทศ ดังนั้นจึงไม่สนใจ
ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง และเข้าใจการเมืองในลักษณะของการยอมรับ
อำนาจของผู้ปกครองหรือผู้นำประเทศ กล่าวคือ เป็นวัฒนธรรมที่บุคคลคิดว่า
ผู้ปกครองว่าอย่างไรประชาชนก็ว่าตามอย่างนั้น
3. วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม (participant political culture)
คือ วัฒนธรรมทางการเมืองที่ประชาชนให้ความสนใจการเมือง และตระหนักว่า
การเมืองส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตในทุกๆ ด้าน มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วม
กิจกรรมหรือมีบทบาททางการเมืองทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ (ชำนาญ
จันทร์เรือง, ออนไลน์, 2559)
อย่างไรก็ตาม ระบบการเมืองทุกระบบมีส่วนผสมของวัฒนธรรมการเมือง
ทั้ง 3 ประเภท
(ชัยอนันต์ สมุทวาณิช, 2524 อ้างถึงใน พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธี
ญาณ, 2561, หน้า 423-424) เช่น ในบางครั้งประชาชนคนชั้นกลางในเมืองไม่ยอมรับ
การเลือกตั้ง แต่สนับสนุนให้มีการรัฐประหาร ขณะที่ประชาชนในชนบทกลับยอมรับ
การเลือกตั้งมากกว่าการทำรัฐประหาร
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย คือ การมีทัศนคติที่เชื่อ
ในความเสมอภาคของมนุษย์ เชื่อในสิทธิขั้นพื้นฐาน อดทนอดกลั้นต่อความคิดเห็น
ที่แตกต่าง การคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมและการเคารพในหลักนิติธรรม
29