Page 79 - kpiebook65057
P. 79

2.1.4 การมีส่วนร่วมในความหมายใหม่


                     ในช่วงทศวรรษ 1990 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาของภาคชุมชนได้ขยาย
             ขอบเขตกว้างขวางมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการเปิดกว้างของภาครัฐที่นำเอา

             แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในการบริหารจัดการโครงการและแผนงาน
             โดยภาครัฐใช้วิธีการนี้เพื่อทำให้ประชาชนเข้ามามีอิทธิพลต่อนโยบายและ
             การวางแผนในระดับต่างๆ ส่งผลให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความผูกพันใกล้ชิด

             กับรัฐมากขึ้น เกิดมิติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการพัฒนาที่ประชาชนเข้ามา
             มีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมของภาคชุมชนภาคประชาสังคมและภาครัฐ ที่มีหน้าที่

             ในการรับผิดชอบร่วมกัน มิใช่การมีส่วนร่วมแบบเดิมที่รัฐเป็นผู้รับผิดชอบแล้วดึง
             ภาคชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในฐานะตัวประกอบ ซึ่งให้น้ำหนักไปที่การมีส่วนร่วม
             ทางอ้อมและไม่สามารถสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง



                     ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เริ่มมีการใช้คำว่า การมีส่วนร่วมของพลเมือง
             (citizen participation) เข้ามาแทนที่ คำว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน (people
             participation) การมีส่วนร่วมของพลเมือง หมายถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง

             ที่มีขอบเขตกว้างกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามความหมายแคบแบบดั้งเดิม
             เนื่องจากการมีส่วนร่วมทางการเมืองในความหมายใหม่นี้ พลเมืองได้เข้าไปเกี่ยวข้อง

             โดยตรงกับหน่วยทางสังคมต่างๆ ในกิจกรรมสาธารณะ ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมด้วย
             สำนึกในความเป็นพลเมือง เป็นลักษณะของพลเมืองที่ต้องการที่จะเข้าไปมีบทบาท
             ในการพัฒนาในฐานะพลเมืองของสังคมที่มีสิทธิ เสรีภาพในการที่จะเข้าไปมีส่วนร่วม

             ในกิจกรรมของชุมชนและสังคม ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมด้วยสำนึก
             ในความเป็นพลเมือง กล่าวคือ พลเมืองตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นและ

             สังคมของตนเอง มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องต่างๆ
             ที่มีผลกระทบต่อตนเอง ชุมชนและสังคม มีการให้น้ำหนักไปที่ตัวของพลเมืองมากขึ้น
             ไม่ได้ให้น้ำหนักหรือยึดภาครัฐเป็นตัวตั้งตามแนวคิดแบบเดิม ซึ่งแนวคิดการมีส่วนร่วม

             แบบใหม่นี้เป็นการกระจายอำนาจ และกระจายความเป็นประชาธิปไตยให้ถึงชุมชน
             (Mansuri and Rao, 2012 อ้างในถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2563) ไม่ใช่การกระจาย

             อำนาจให้ถึงเพียงแค่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งในการส่งเสริมให้พลเมือง


                                               24
   74   75   76   77   78   79   80   81   82   83   84