Page 74 - kpiebook65057
P. 74
สาธารณะ การวางแผนและขับเคลื่อนการพัฒนาและการตรวจสอบการใช้อํานาจรัฐ
ทุกระดับ
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อธิบายว่า “การเมืองภาคประชาชน” หมายความถึง
การเมืองที่ภาคประชาชนส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในทุกระดับทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ
และระดับนานาชาติ เป็นการเมือง
ที่ประชาชนนอกสภาฯ มีบทบาทและเข้าใจถึงอํานาจโดยตรงในการจัดสรร
ทรัพยากรสาธารณะต่าง ๆ และการเข้าถึงอํานาจในการกําหนดนโยบายสาธารณะ
โดยไม่ต้องผ่านการเมืองประชาธิปไตยแบบตัวแทน ทั้งจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ซึ่ง
หมายถึงต้องสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยทางตรงให้เกิดขึ้น
เพื่อกํากับและกําหนดทิศทางการเคลื่อนไหวของประชาชนมากกว่า
ฝ่ากความหวังและพึ่งพาระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนเพียงอย่างเดียว (พงศ์นิวัฒน์
ยุทธภัณฑ์์บริภาร, 2560)
2.1.2 แนวคิดการมีส่วนร่วม (Participation)
การมีส่วนร่วมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองสายใหญ่ๆ สายแรก เป็นวาทกรรม
ทางวิชาการที่ปรากฏิในแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Development
approach) มีจุดเด่นอยู่ที่การมีส่วนร่วมทางสังคมหรือการมีส่วนร่วมของชุมชน
(Social or Community participation approach) การมีส่วนร่วมแบบแรกนี้เป็นลักษณะ
ของการให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการ เช่น
การค้นหาปัญหา การวางแผน การตัดสินใจ การบริหารจัดการทรัยพากร การติดตาม
ประเมินผลโครงการ เป็นต้น สายที่สอง เป็นวาทกรรมที่ปรากฏิในแนวคิดการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง (Political participation approach) ตามแนวคิดแบบดั้งเดิมนั้นเน้นที่
การเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางการเมืองในความหมายแคบๆ เช่นการลงคะแนนเสียง
19