Page 71 - kpiebook65057
P. 71

ในบทนี้จะเริ่มด้วยการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีเพื่อนำมาประกอบเป็นข้อมูล
             ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์ การเมืองภาคพลเมือง ดังต่อไปนี้

                     1. ทฤษฎีแนวคิดการเมืองภาคพลเมืองและความเป็นพลเมือง

                     2. แนวคิดการมีส่วนร่วม

                     3. แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง


                     4. ทฤษฎีการมีส่วนร่วมในความหมายใหม่

                     5. แนวคิดวัฒนธรรมการเมือง

                     6. แนวคิดค่านิยมทางการเมือง

                     7. ทฤษฎีการกดดันทางสังคม

                     8. ทฤษฎีทุนทางสังคม

                     9. ทฤษฎีอนาคตศึกษา

                     10. ทฤษฎีการวางแผนด้วยภาพอนาคต (Casual Layered Analysis : CLA)


                     นอกจากนี้ยังทำการทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ วิวัฒนาการของพลเมือง

             ในสากล และวิวัฒนาการของพลเมืองในประเทศไทย รวมถึงปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อ
             การเติบโตของการเมืองภาคพลเมือง การส่งเสริมความเป็นพลเมืองในสากลและการ

             ส่งเสริมความเป็นพลเมืองในประเทศไทย


                     อับราฮัม ลินคอร์น ได้ให้ความหมายของระบอบประชาธิปไตย ว่า “การ
             ปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน” โดยในปัจจุบันการ
             ปกครองในระบอบประชาธิปไตยมักจะกำหนดให้มีการเลือกผู้แทนราษฎรเพื่อไป

             ทำหน้าที่แทนประชาชนในการกำหนดกฎหมาย นโยบาย ตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจ
             ของรัฐ การเลือกผู้แทนโดยประชาชนเพื่อไปทำหน้าที่ในการปกครองประเทศแทน

             ประชาชนจึงเรียกว่าเป็น “ประชาธิปไตยทางอ้อม” ขณะเดียวกันในปัจจุบัน หลาย







                                               16
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76