Page 72 - kpiebook65057
P. 72
ประเทศได้เผชิญกับวิกฤตคุณภาพประชาธิปไตย เนื่องจากนักการเมืองที่ถูกเลือก
โดยประชาชนให้เข้าไปเป็นผู้แทนของประชาชน ไม่ได้ทำตามหน้าที่ของผู้แทน
อย่างที่ควรจะเป็น อีกทั้งยังเป็นสาเหตุที่ทำให้คุณภาพของประชาธิปไตยตกต่ำลง
ผู้แทนไม่ได้ทำตามนโยบายที่ได้กำหนดไว้ ทำให้การปกครองในระบอบประชาธิปไตย
แบบการเลือกตัวแทนนั้นเป็นประชาธิปไตยเชิงปริมาณ แต่ไม่ได้นำไปสู่คุณภาพ
ของประชาธิปไตยที่ผู้แทนเหล่านั้นเข้าไปทำหน้าที่ในการจัดทำนโยบายที่ส่งเสริม
การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม
ในกระบวนการทางนโยบาย การเสนอกฎหมาย การแก้ไขปัญหาของประเทศ ตลอดจน
การสร้างความเข้มแข็งให้พลเมืองสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง
ดังนั้น ระบอบประชาธิปไตยทางอ้อมอาจไม่สามารถตอบโจทย์ปัญหาและ
การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ จึงจำเป็นต้องทำการสร้าง
ประชาธิปไตยจากฐานล่าง นั่นคือ “ประชาธิปไตยทางตรง” ที่ประชาชนสามารถ
เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย แก้ไขปัญหา บริหารจัดการทรัพยากร
ในชุมชน มีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย ตรวจสอบการทำงาน
ของภาครัฐ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ “การเมืองภาคพลเมือง” มีความสำคัญในการฟื้้�นฟืู้
ระบอบประชาธิปไตยที่ให้คุณค่ากับสิทธิ เสรีภาพของประชาชน และการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง อันจะก่อให้เกิดประชาธิปไตยที่มีคุณภาพ เพราะเป็นการเปิดโอกาส
ให้พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจโดยตรง ทั้งนี้การเป็นพลเมืองเป็น
จุดเริ่มต้นในการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีคุณภาพ (ทศพล สมพงษ์, 2563)
2.1 แนวัคิดทฤษฎีที่เกี่ยวัข้อง
2.1.1 ทฤษฎีแนวคิดการเมืองภาคพลเมืองและความเป็นพลเมือง
การเมืองภาคพลเมือง หมายถึง การใช้อำนาจของพลเมืองในกิจกรรมทาง
สังคม กิจกรรมทางการเมืองตามสิทธิของพลเมือง เกิดขึ้นได้ในระดับชุมชนหรือระดับชาติ
ประชาธิปไตยไทยที่มีตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ได้พัฒนามาสู่กิจกรรมทางการเมือง
17