Page 73 - kpiebook65057
P. 73
สิทธิเสรีภาพ สิ่งแวดล้อม ความรู้ ภูมิปัญญา สุขภาพอนามัย สิทธิทางเพศ หรือ
อาจจะกล่าวโดยรวมคือพลเมืองได้ใช้อำนาจของตนในกระบวนการพัฒนาคุณภาพ
ชีวิต จัดการชุมชนท้องถิ่นของตนเองด้วยการไปหนุนเสริมกับรัฐ บางกิจกรรมอาจจะ
ท้าทายกับอำนาจรัฐ การแสดงออกนี้ในมิติการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง
ที่ส่งผลต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจกับรัฐใหม่ พลเมืองจึงเป็นตัวกระทำ
ทางการเมืองใหม่ (รงค์ บุญสวยขวัญ, 2557, หน้า 124)
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล นิยามการเมืองภาคประชาชนว่าคือ การเคลื่อนไหว
อย่างมีจิตสำนึกทางการเมืองของกลุ่มประชาชนเพื่อลดฐานะการครอบงำ รวมทั้ง
เพื่อโอนอำนาจบางส่วนมาให้ประชาชนใช้ดูแลชีวิตตนเองโดยตรง เป็นปฏิิกิริยา
ตอบโต้การใช้อำนาจรัฐเพื่อถ่วงดุลอำนาจ การครอบงำของระบบตลาดเสรีใน
ภาคประชาชน และเป็นกระบวนการใช้อำนาจทางตรงของประชาชนที่มากไปกว่า
การเลือกตั้งเพื่อเข้าไปสู่กระบวนการทางนโยบายทุกขั้นตอน โดยมีจุดหมายสำคัญ
คือการลดระดับการปกครองโดยรัฐ จำกัดขอบเขตอำนาจรัฐให้สังคมดูแลตนเอง
ถ่วงดุลอำนาจรัฐด้วยประชาสังคมโดยไม่มุ่งยึดอำนาจรัฐ (ประภาส ปิ�นตบแต่ง,
ม.ป.ป.)
ศรัณยุ หมั้นทรัพย์ ได้ให้ความหมายคําว่า “การเมืองภาคประชาชน”
(People’s politics) ว่าเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ (New Social
Movement) ที่มุ่งเคลื่อนไหวสร้างจิตสํานึกในประเด็นผลประโยชน์ร่วมของมนุษยชาติ
ได้แก่ สภาพแวดล้อมโลก สภาพทุนโลก เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการเมืองภาคพลเมือง
ในรูปแบบใด การเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม (civil society movement) หรือ
ภาคพลเมืองดังกล่าวมีองค์ประกอบสำคัญคือ พลเมืองที่กระตือรือร้น
(Active citizen) มุ่งปกป้องคุ้มครองสิทธิและมุ่งประโยชน์สาธารณะ (common good)
เป็นพลังสำคัญ (ศรัณยุ หมั้นทรัพย์, 2550)
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายคําว่า “การเมืองภาคประชาชน
หรือการเมืองภาค พลเมือง” ไว้ว่า พลเมืองมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
18