Page 78 - kpiebook65057
P. 78
การกระทำที่จัดว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลหรือของกลุ่ม
อาจเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมตามความสนใจของแต่ละคน เช่น การติดตามข่าวสาร
ทางการเมือง การไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือ
พรรคการเมือง การติดต่อหรือพบปะกับนักการเมืองและพรรคการเมืองหรือ
เจ้าหน้าที่ของรัฐ การมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมประท้วงทางการเมือง ต่อมาในช่วง
ทศวรรษ 1990 แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ขยายกว้างขึ้นไปจากแนวคิด
แบบดั้งเดิม โดยขยายครอบคลุมไปถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย
สาธารณะ (Public policy) ทั้งนี้ พาร์รีและคณะ ให้ความหมายการมีส่วนร่วมไว้ว่า
“การเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ทั้งในขั้นเริ่มต้นของนโยบาย
การกำหนดสาระสำคัญของนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิิบัติ โดยพลเมืองเข้ามา
มีส่วนเป็นผู้กระทำ ขับเคลื่อน เพื่อที่จะ มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ
ทั้งฝ่�ายการเมืองและฝ่�ายข้าราชการประจำ” (Parry, Mosley and Day, 1992 อ้างใน
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2563)
การมีส่วนร่วมจึงมีขอบเขตที่กว้างขึ้นจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการ
ทางการเมืองแบบตัวแทนขยายครอบคลุมไปสู่การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย
อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมทั้งสองรูปแบบนี้ ยังถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางอ้อม
เนื่องจากเป็นการกำหนดนโยบายมาจากส่วนบน (top down) คือรัฐ จากนั้น
จึงให้มีการ รับฟื้ังความคิดเห็นจากสาธารณะ หรือที่เรียกว่าการมีส่วนร่วม
ของสาธารณะ (Public participation) ซึ่งไม่ใช่การให้ภาคประชาชนกำหนดนโยบาย
จากความต้องการของตนเอง หรือที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
จากส่วนลาง (bottom up) อันจะเป็นการกระจายอำนาจให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ในการกำหนดนโยบายของตัวเอง เพื่อให้ประชาชนมีอำนาจในการตัดสินใจและ
การดำเนินงานอยู่ที่ภาคประชาชน ป้องกันการมีส่วนร่วมโดยประชาธิปไตย
แบบตัวแทนซึ่งการตัดสินใจและการดำเนินงานอยู่ที่นักการเมือง
23