Page 75 - kpiebook65057
P. 75
การรณรงค์การเลือกตั้ง การสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นต้น ทั้งนี้แนวทางและจุดเน้น
ของทั้งสองสายนี้มีความแตกต่างกัน ทำให้วิธีการหรือแนวทางในการมีส่วนร่วม
จึงแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นเมื่อใช้คำว่าการมีส่วนร่วมควรตระหนักว่ากำลังกล่าวถึง
การมีส่วนร่วมในแนวทางใด (ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563.)
พัฒนาการของแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Development
participation approach) การมีส่วนร่วม ในการพัฒนา มีกระบวนทัศน์หลักอยู่ที่
การมีส่วนร่วมของภาคชุมชนและภาคสังคม โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1970
มีนักวิชาการให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง ความพยายามในการ
สร้างกลุ่มหรือขบวนการของชุมชนที่เดิมทีถูกเพิกเฉยหรือถูกกีดกันไม่ให้เข้าไป
มีส่วนร่วมในการควบคุมทรัพยากรและสถาบันของราชการในสถานการณ์ทางสังคม
สถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง (Stiefel and Wolfe, 1994, p.5 อ้างในถวิลวดี บุรีกุล
และคณะ, 2563) ตามความหมายนี้การมีส่วนร่วมจึงเป็นการมีจัดตั้งขึ้นนอกภาครัฐ
เช่น ขบวนการทางสังคมในรูปแบบต่างๆ กลุ่มองค์กรต่างๆ ทางสังคม ซึ่ง
การจัดตั้งกลุ่มต่างๆ ขึ้นในสังคมหรือชุมชนนั้นเป็นแนวทางอย่างหนึ่งในการที่จะส่งเสริม
ให้กลุ่มองค์กรสามารถเข้าไปมีบทบาทในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม
ทำให้ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นทศวรรษ 1990 แนวคิด
การมีส่วนร่วมในการพัฒนาได้ขยายขอบเขตกิจกรรมของการมีส่วนร่วมไปสู่การทำ
โครงการหรือแผนงานของรัฐ ซึ่งกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นวิธีที่จะช่วยเสริมสร้าง
ความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน
การขยายแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนาไปสู่การมีส่วนร่วม
ในโครงการและแผนงานของรัฐเริ่มเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง แผนงานพัฒนา
ของธนาคารโลก (World Bank) ได้ให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่าหมายถึง
“กระบวนการที่ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholders) เข้ามามีอิทธิพลและควบคุมการพัฒนา
ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก และเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการจัดการทรัพยากร
ที่มีผลกระทบต่อพวกเขา” (World Bank, 1995 อ้างในถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563)
สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมตามแนวคิดของธนาคารโลกคือ การที่ผู้มีส่วนได้เสีย
20