Page 66 - kpiebook65057
P. 66
ในการบังคับใช้กฎหมาย ความไม่เท่าเทียมในการจัดสรรทรัพยากร ความเหลื่อมล้ำ
การบริหารจัดการที่ขาดประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อประชาชนและ
สังคม เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในสังคมและนำไปสู่การชุมนุม
ตามท้องถนนของประชาชน ก่อเกิดเป็นขบวนการการเมืองภาคประชาชน เป็นการ
สร้างอำนาจต่อรองกับรัฐ (Hard Power) รูปแบบการเรียกร้องอาจมีหลากหลาย
รูปแบบและหลายระดับ เช่น อาจใช้รูปแบบการรวมกลุ่มกันเพื่อชุมนุมประท้วง
ตามท้องถนน การใช้คาร์ม็อบหรือการขับขี่ยานพาหนะเพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์
ในการต่อต้านอำนาจรัฐ ไปจนถึงการแสดงออกผ่านความรุนแรง การออกแถลงการณ์
เรียกร้องเพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญที่ก่อให้เกิดปัญหาการลิดรอน
สิทธิเสรีภาพของประชาชน ไปจนถึงการล้มล้างอำนาจรัฐ เป็นต้น
1.5.6 การเมืองภาคพลเมือง (Citizen Politics) หมายถึง การที่ประชาชน
เข้าไปมีอิทธิพลต่อการใช้อำนาจรัฐ (Soft Power) เช่น การกำหนดนโยบาย การแก้ไข
กฎหมาย หรือรัฐธรรมนูญ การเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อำนาจเพื่อ
กำกับควบคุมรัฐให้ดำเนินการตามที่ตนเองต้องการได้ โดยการเมืองภาคพลเมือง
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
1. การเมืองภาคพลเมืองเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของพลเมือง
กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายรัฐหรือกฎหมาย
ที่มีปัญหาทำให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อออกมาเรียกร้องให้มีการ
แก้ไขกฎหมายหรือนโยบายเพื่อลดผลกระทบ เช่น ปัญหาชาว
บางกลอย กลุ่มชาติพันธ์ุ ชาวบ้านในอำเภอจะนะ กลุ่มสมัชชา
คนจนเขื่อนปากมูล กลุ่มสมัชชาเกษตรกรรายย่อย พลเมืองกลุ่ม
นี้เป็นพลเมืองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชนจากแผน
พัฒนาหรือนโยบายรัฐ เรียกร้องให้เกิดการปกป้องสิทธิชุมชน
เป็นลักษณะที่ปัจจัยภายนอก เช่น นโยบายและกฎหมายที่มี
ปัญหาและส่งผลกระทบต่อชุมชน ทำให้พลเมืองลุกขึ้นเพื่อเรียก
ร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาให้กับชุมชน
11