Page 65 - kpiebook65057
P. 65
และ ทุนทางสังคมภายนอก (Structural social capital) ทุนทางสังคมภายใน
มีลักษณะที่มองไม่เห็นและประเมินได้ยาก เพราะอยู่ในจิตใจของเรา ทุนทางสังคม
แบบนี้จะเกี่ยวพันกับความรู้สึกนึกคิด จิตใจ ความเชื่อ ทัศนคติ เช่น ความเชื่อถือ
ไว้วางใจกัน (Trust) คุณค่าร่วมกัน (Shared values) ความเกื้อกูลกัน (Reciprocity)
ทุนทางสังคมภายนอก มีลักษณะที่มองเห็นและประเมินได้ง่ายกว่า ทุนทางสังคม
ประเภทนี้เกี่ยวพันกับบทบาท พฤติกรรม การกระทำหรือความสัมพันธ์ที่เราสร้างขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของเครือญาติ สายสัมพันธ์อุปถัมภ์ หรือจะเป็น เครือข่าย
องค์กร ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เช่น กลุ่มออมทรัพย์ องค์กรปกครอง
ท้องถิ่น ชมรม เป็นต้น รวมถึงสถาบันในรูปของกฎกติกา (Rule of the game) เช่น
กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ (สินาด ตรีวรรณไชย, ออนไลน์, 2548)
1.5.4 การมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political participation) หมายถึง
การเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง โดยไม่นับรวมถึงการมีอาชีพที่เกี่ยวข้อง
กับการเมือง เป็นการเข้ามาร่วมตั้งแต่การเรียนรู้ร่วมคิดริเริ่ม ร่วมตัดสินใจ ร่วมปฏิิบัติ
และร่วมตรวจสอบ เพื่อให้การดำเนินการของรัฐบาลเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและ
ตรงต่อความต้องการของประชาชน และทำให้สังคม เศรษฐกิจและประเทศชาติมีการ
พัฒนาต่อไป (ถวิลวดี บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557, หน้า 24) อาทิเช่น
การเลือกตั้ง การติดตามข่าวสารบ้านเมือง การรณรงค์ การร้องเรียน การประท้วง
การคว่ำบาตร การบริจาคเงินช่วยเหลือพรรคการเมือง เป็นต้น การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ทำกัน
ทั่วไป (Conventional political participation) คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่
ขัดต่อกฎหมาย และการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ไม่ได้ทำกันทั่วไป (Unconventional
political participation) คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยผิดกฎหมาย (ถวิลวดี
บุรีกุล และ รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557 หน้า 150)
1.5.5 การเมืองภาคประชาชน (People’s Politics) หมายถึง การ
เคลื่อนไหวทางการเมืองของประชาชนเพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอำนาจรัฐ
สาเหตุของการเกิดการเมืองภาคประชาชนอาจเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความ
ไม่ไว้วางใจและไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐ จากการจัดสรรอำนาจที่ไม่สมดุล ความไม่เท่าเทียม
10