Page 64 - kpiebook65057
P. 64
1.5 นิยามศัพท์
1.5.1 วัฒนธรรมทางการเมือง (Political culture) หมายถึง แบบแผน
ของทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ความคิดของบุคคลต่อกระบวนการทางการเมือง
วัฒนธรรมทางการเมืองในแต่ละชุมชนก็จะมีความเป็นตัวของตัวเองซึ่งถูกกำหนดขึ้น
หรือได้รับอิทธิพลจากสภาวะแวดล้อม เช่น ประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี
ศาสนา โดยผ่านกระบวนการขัดเกลาทางการเมือง (Political socialization) โดย
สถาบันต่าง ๆ เช่น ครอบครัว เพื่อน โรงเรียน กลุ่มสังคมและสื่อมวลชน เพื่อที่จะ
ถ่ายทอดวัฒนธรรมทางการเมืองจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งอย่างต่อเนื่อง และมี
ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ อยู่เสมอ (ชำนาญ จันทร์เรือง,
ออนไลน์, 2559) Almond & Verba (1965) ได้แบ่งวัฒนธรรมทางการเมืองออกเป็น
3 ประเภท ได้แก่ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบ (Parochial political culture)
คือ การที่คนในสังคมไม่สนใจการเมือง เพราะคิดว่าการเมืองไม่ส่งผลกระทบต่อ
ชีวิต วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟื้้า (subject political culture) คือ การที่คน
ในสังคมมีความสนใจการเมืองบ้าง แต่ไม่เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง เพราะคิดว่า
ตนไม่มีอิทธิพลต่อการเมืองของประเทศ และวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม
(participant political culture) คือ วัฒนธรรมทางการเมืองที่ประชาชนให้ความสำคัญ
ตระหนักว่าการเมืองส่งผลกระทบต่อชีวิต มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรม
หรือมีบทบาททางการเมือง
1.5.2 ค่านิยมทางการเมือง (Political values) หมายถึง ปรากฏิการณ์ทาง
สังคมที่บ่งชี้ถึงระดับความพึงพอใจของกลุ่มทางสังคมขนาดใหญ่และสังคมองค์รวม
(Miroslaw Karwat, 1982, p.198-204) ครอบคลุมไปถึงทัศนะ หรือความคิดของ
บุคคลหรือสังคมที่มีต่อการเมือง
1.5.3 ทุนทางสังคม (Social capital) หมายถึง ความสัมพันธ์ทางสังคม
หรือโครงสร้างทางสังคมที่สามารถก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน เช่น ความเชื่อถือ
ไว้วางใจกัน (Trust) เครือข่าย (Network) สถาบัน (Institution) ทุนทางสังคมแบ่งออก
เป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทุนทางสังคมภายใน (Cognitive social capital)
9