Page 59 - kpiebook65057
P. 59
2540 ทำให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
มีการกระจายอำนาจการบริหารไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และการยกระดับ
สุขาภิบาลเป็นเทศบาล และเกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ทางการเมือง การแข่งขัน
เชิงนโยบายมากขึ้น
พัฒนาการของการเมืองภาคพลเมืองนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการ
ปกครอง พ.ศ. 2475 ประสบกับการล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง และหลายครั้ง
การเมืองภาคพลเมืองกลายเป็นปัจจัยที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสังคม เช่น
เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน การตรวจสอบถ่วงดุล
อำนาจรัฐ การเรียกร้องความยุติธรรมทางสังคม การมีส่วนร่วมในการกำหนด
นโยบายสาธารณะ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่นำมาสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
ในหลายด้าน อาทิ การให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง การให้สภาผู้แทนราษฎร
เป็นแกนนำหลักในรัฐสภาแทนวุฒิสภา เป็นต้น
กล่าวได้ว่าการเมืองภาคพลเมืองนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเกิดการ
เปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ทั้งการเปลี่ยนแปลงค่านิยม วัฒนธรรมการเมือง ซึ่งได้รับ
ผลกระทบมาจากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก
ทั้งเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ
กระแสโลกาภิวัตน์ แนวคิดเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชน แนวคิดการเป็นพลเมือง
ในระบอบประชาธิปไตย การเข้ามาของเทคโนโลยีการสื่อสาร นโยบายการพัฒนา
ทางเศรษฐกิจ กฎหมาย นโยบาย รัฐธรรมนูญและแผนปฏิิรูปประเทศ จาก
ประสบการณ์ของการเมืองภาคพลเมืองเกือบ 9 ทศวรรษที่ผ่านมา ได้ทำให้เกิด
การเรียนรู้ถึงวัฒนธรรมทางการเมืองและพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชน
ที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น การศึกษาอนาคตและฉากทัศน์การเมืองไทยเพื่อสร้าง
ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน ในมิติการเมืองภาคพลเมืองนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงระบอบ
การปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้น และเพื่อจัดทำฉากทัศน์ของการเมืองภาคพลเมืองในแต่ละด้าน รวมถึง
4