Page 58 - kpiebook65057
P. 58

เข้าถึงโอกาสที่จะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางนโยบาย ความรู้ความเข้าใจเรื่อง
               ระบอบการเมือง ระบบการเลือกตั้ง การรวมกลุ่ม สิทธิเสรีภาพ ยังเป็นเรื่องที่ยัง
               ไม่แพร่หลาย อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีการสื่อสารยังไม่พัฒนารุดหน้าเหมือน

               ยุคปัจจุบัน การรับรู้ทางการเมืองของประชาชนจึงมีน้อย การตรวจสอบถ่วงดุลก็เกิด
               ขึ้นไม่มาก เป็นยุคที่เกิดการแยกรัฐกับประชาชนอย่างชัดเจน


                        การเติบโตของการเมืองภาคพลเมืองเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นระหว่างช่วง

               ของการเรียกร้องประชาธิปไตยของนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516
               ถึงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ทางการเมือง

               ที่สำคัญ หลังจากนั้นการเมืองภาคพลเมืองในลักษณะของการชุมนุมทางการเมือง
               เริ่มลดบทบาทลงจากการปราบปรามของตำรวจและทหารจนทำให้นิสิตนักศึกษาต้อง
               หนีเข้าป�า ไปร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยต่อสู้กับรัฐบาล ขบวนการ

               ชาวนา กรรมกรโรงงานถูกทำลายจนย่อยยับ การเมืองภาคพลเมืองในยุคต่อมาจึง
               กลายเป็นการรวมตัวของขบวนการทางสังคม เช่น เอ็นจีโอ องค์กรพัฒนาเอกชน

               ภาคประชาสังคม ที่ออกมาเรียกร้องในประเด็นเฉพาะ เช่น ประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม
               ประเด็นด้านหลักประกันทางสังคม ประเด็นด้านสุขภาพ ประเด็นทางการศึกษา
               ประเด็นสิทธิสตรี แทนการเมืองภาคพลเมืองที่ออกมาชุมนุมตามท้องถนน กระทั่ง

               การเมืองภาคพลเมืองกลับมามีบทบาทในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535
               ที่ประชาชนรวมตัวกันต่อต้านการรัฐประหารของรัฐบาล พลเอก สุจินดา คราประยูร

               และระบอบเผด็จการจนสามารถเรียกร้องให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง


                        นับจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเกิดความตื่นตัวทางการเมืองของ
               ภาคประชาชนที่ออกมารวมตัวกัน เช่น การรวมกลุ่มของเกษตรกรที่เรียกว่า สมัชชา

               เกษตรกรรายย่อย เกิดการรวมตัวของกลุ่มสมัชชาคนจน กลุ่มองค์กรพิทักษ์
               สิ่งแวดล้อม การต่อต้านการสร้างเขื่อน องค์กรพิทักษ์สิทธิสตรี และการมีส่วนร่วม
               ของประชาชนในการร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540

               ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญ
               นำไปสู่การส่งเสริมบทบาทของการเมืองภาคพลเมือง ผลของรัฐธรรมนูญพุทธศักราช





                                                  3
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63