Page 57 - kpiebook65057
P. 57
1.1 หลักการและเหตุผล
การเมืองภาคพลเมืองมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนา
ประชาธิปไตยไทยเนื่องจากเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นต้นมา การเมืองภาคพลเมือง
มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และเกิดการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาที่แตกต่าง
กันไป การเมืองภาคพลเมืองนับตั้งแต่ช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475
ถือเป็นหมุดหมายสำคัญในการพัฒนาประชาธิปไตยไทยเนื่องจากเป็นช่วงหัวเลี้ยว
หัวต่อของการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
(Absolute Monarchy) มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
ประมุข (Constitutional Monarchy)
ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เป็นยุคเริ่มต้นของการ
แสวงหาประชาธิปไตยกระบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยเริ่มจากกลุ่มชนชั้นสูงและ
ข้าราชการประจำที่ต้องการการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง ให้มีการนำระบบ
รัฐสภา และการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมาใช้ในสยาม ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาการเมือง
และการพัฒนาเศรษฐกิจมีความก้าวหน้า
การเมืองภาคพลเมืองในยุคนี้ ประชาชนโดยเฉพาะชนชั้นกลางชนชั้นล่าง
มีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงเล็กน้อย และเป็นการมีส่วนร่วมในการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจำนวนประชาชนที่ไปใช้สิทธิในช่วงนั้นยังมีจำนวนไม่มากนัก อีกทั้ง
ระบอบประชาธิปไตยเพิ่งเริ่มต้นขึ้นในประเทศ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจ
ในหลักการประชาธิปไตย อาทิ หลักสิทธิเสรีภาพ หลักความเสมอภาคเท่าเทียม
หลักการบังคับใช้อำนาจที่อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นต้น ทำให้การมีส่วนร่วม
ทางการเมือง หรือการเมืองภาคพลเมืองยังไม่เติบโตขึ้นมากนัก รัฐยังเข้าไปไม่ถึง
ประชาชนโดยเฉพาะในต่างจังหวัด ยังไม่มีการกระจายอำนาจการปกครองอย่างชัดเจน
เป็นรูปธรรม อีกทั้งการตัดสินใจเชิงนโยบายยังอยู่ในขอบเขตอำนาจของชนชั้นนำ
และชนชั้นปกครองเป็นผู้ตัดสินใจเป็นส่วนใหญ่ ประชาชนที่เป็นราษฎรยังไม่สามารถ
2