Page 92 - kpiebook65057
P. 92
เพื่อทำให้พลเมืองที่ยังไม่ได้เสียภาษีมีความคิดที่หันมาเสียภาษีให้รัฐ การใช้ภาพ
วาดฝ่าผนัง (graffiti) ในการแก้ปัญหาการก่อจลาจลปาข้าวของของกลุ่มวัยรุ่น
ในกรุงลอนดอน ซึ่งสามารถใช้ได้ในการลดพฤติกรรมก้าวร้าวและลดความรุนแรง
ในบริเวณที่เกิดเหตุการณ์ เป็นต้น
ดังนั้นทฤษฎีผลักดันจึงหมายถึง การนำแนวคิดที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต
ที่ตัดสินใจหรือเลือกที่จะทำบางสิ่งจากสถานการณ์ที่ผลักดันให้ทำเช่นนั้น แนวคิด
ดังกล่าวนี้จึงถูกนำไปใช้เพื่อออกแบบสถานการณ์หรือวิธีการเพื่อทำให้ผู้คนในสังคม
ทำในสิ่งที่ต้องการ หรืออาจเรียกว่าเป็นการกระตุ้นอย่างนุ่มนวลในการทำให้ผู้คนหัน
มาร่วมมือทำบางสิ่งบางอย่างทั้งทางการเมือง และทางเศรษฐศาสตร์ เช่น การกระตุ้น
ให้คนออกมารักษาสุขภาพมากขึ้น การกระตุ้นให้ประชาชนเสียภาษี การกระตุ้น
ให้คนออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง อันเป็นการทำให้เกิดบรรทัดฐานทางสังคมโดยใช้
การสร้างสภาพแวดล้อมให้เกิดการตัดสินใจที่จะทำหรือไม่ทำบางสิ่ง ซึ่งสามารถช่วย
ในการแก้ปัญหาต่างๆ โดยไม่จำเป็นต้องสร้างกฎ ระเบียบ หรือกติกาขึ้นมากำหนด
พฤติกรรมของผู้คนเพื่อให้ทำตามเพียงอย่างเดียว แต่ใช้สภาพแวดล้อมเพื่อกระตุ้น
หรือสร้างแรงจูงใจให้คนทำในสิ่งที่ควรจะทำ
ริชาร์ด เธเลอร์ ได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมมติฐานที่ว่าพฤติกรรมของ
มนุษย์นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับเหตุผลเพื่อนำไปสู่การคาดคะเนและกำหนดพฤติกรรม
การตัดสินใจเชิงเศรษฐศาสตร์ควบคู่กับหลักการทางจิตวิทยาเพื่อนำไปสู่การกำหนด
นโยบายที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม
ปัจจุบันแนวคิดนี้ได้ถูกนำไปใช้ในหลากหลายสาขา ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาคส่วนบุคคล ซึ่งเป็นแนวคิดที่กระตุ้นหรือช่วยสนับสนุนให้ผู้คนมีพฤติกรรม
ตามที่ต้องการ เปรียบเสมือนการให้มนุษย์ทำบางสิ่ง
อย่างนุ่มนวล ซึ่งเป็นแนวคิดที่สามารถในไปกำหนดนโยบายสาธารณะ
ที่ช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว (วรากรณ์ สามโกเศศ, ออนไลน์, 2560
37