Page 93 - kpiebook65057
P. 93
2.1.8 แนวคิดทุนทางสังคม (Social Capital)
ทุนทางสังคม (Social Capital) เป็นคำที่ถูกใช้เป็นฐานคิดที่เกี่ยวข้องกับ
การพัฒนาทั้งการพัฒนาชุมชนและการพัฒนาสังคมไทยในปัจจุบัน แต่ก็มีผู้ให้
ความหมายที่มีความสอดคล้องและแตกต่างหลากหลายมากมาย ทำให้ผู้ที่จะนำ
ความหมายของทุนทางสังคมไปใช้ในการอ้างอิงทั้งในทางวิชาการและการปฏิิบัติ
มักจะสร้างความเคลือบแคลงถึงความหมายที่ชัดเจนแจ่มแจ้งเป็นแนวทางเดียวกัน
ผู้เขียนจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาบทสรุปของความหมายแห่งทุนทางสังคม
ที่ชัดเจนและนำไปใช้อ้างอิงได้อย่างถูกต้อง
James Coleman (1988) กล่าวว่า ทุนทางสังคม คือ ชุดความสัมพันธ์
ระหว่างบุคคล โดยมีความคาดหวัง ความไว้วางใจ (Trust) บรรทัดฐานทางสังคม
(Norm) ร่วมกันระหว่างสองคนหรือมากกว่า และชี้ให้เห็นว่าความหลากหลาย
ของทุนทางสังคมเกิดขึ้นจากหน้าที่ของแต่ละชุมชน กลุ่มเครือข่ายที่แตกต่างกัน
โดยทุนทางสังคมของแต่ละชุมชนจะช่วยสนับสนุนการก่อตัวของโครงสร้างสังคม
ในลักษณะการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนให้มีการร่วมมือกัน และสร้างความไว้วางใจ
ระหว่างกันและกัน รวมถึงการสร้างบรรทัดฐานของสังคมร่วมกัน เพื่อให้เกิดการก
ระทำร่วมกัน (collective action) และความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ทุนทางสังคม
จึงมีบทบาทในการทำให้เกิดทุนมนุษย์ นอกจากนี้ทุนทางสังคมยังสามารถกระตุ้น
และสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน
ทุนประเภทอื่นๆ ทว่าทุนนทางสังคมแตกต่างจากทุนประเภทอื่นตรงที่ทุนทางสังคม
นั้นเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ (พัฒนพงศ์ สุกิจปาณีนิจ, 2552, หน้า 6)
Robert Putnam (1993) กล่าวว่าทุนทางสังคมคือรูปแบบของการจัดองค์การ
ที่ประกอบไปด้วยความเชื่อใจ (trust) บรรทัดฐาน (norm) และเครือข่าย (network)
ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสังคมในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกัน โดยทุนทาง
สังคมจะเพิ่มโอกาสในการบรรลุเป้าหมายของสังคมโดยอาศัยความเชื่อใจ ไม่ใช่แค่
ระดับบุคคลต่อบุคคล แต่เป็นระดับองค์รวมของสังคม และสามารถคาดหวังได้ว่า
38