Page 98 - kpiebook65057
P. 98
ยังได้กล่าวถึงทุนทางสังคมโดยเชื่อมโยงกับความสัมพันธ์ในระบบอุปถัมภ์ที่มีค่านิยม
ในการตอบแทนบุญคุณ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนแบบไม่เท่าเทียมกันรวมทั้งการมีเครือข่าย
การตอบแทนและการใช้ประโยชน์ร่วมกันและกล่าวถึงการนำแนวคิดเรื่องทุน
ทางสังคมไปขยายใช้กับงานพัฒนาในปัจจุบัน
ทุนทางสังคมในความหมายแคบ (narrow concept) คือ การรวมกลุ่ม
ในแนวราบ (horizontal association) ระหว่างประชาชนโดยอาศัยเครือข่ายทางสังคม
และบรรทัดฐานร่วมกันเพื่อที่จะบรรลุผลประโยชน์ร่วมกันของสังคม โดยมี
คุณลักษณะในเชิงองค์กรทางสังคมหรือเศรษฐกิจ
ทุนทางสังคมในความหมายกว้าง (broader concept) คือ การเอาชุมชน
หรือกลุ่มทุนทางสังคมในแนวตั้งมารวมกับกลุ่มทุนทางสังคมในแนวราบ ซึ่งการรวม
กลุ่มในแนวตั้งจะมีลักษณะของความสัมพันธ์เชิงลำดับชั้นและมีความไม่เท่าเทียมกัน
ในการกระจายอำนาจระหว่างสมาชิกของกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นทุนทางสังคมภายนอก
ชุมชนที่เชื่อมโยงกับอำนาจตัดสินใจในเชิงลำดับชั้น จึงเป็นการรวมเอาความสัมพันธ์
ทั้งในภาคเอกชนและภาครัฐเข้าด้วยกัน ภายใต้วัตถุประสงค์ที่หลากหลาย (พัฒนพงศ์
สุกิจปาณีนิจ, 2552, หน้า 13)
เมื่อพิจารณาโดยรวม อาจสรุปได้ว่า ทุนทางสังคม หมายถึง ผลรวมของ
สิ่งดีงามต่าง ๆ ที่มีอยู่ในสังคม ทั้งในส่วนที่ได้จากการสั่งสมและการต่อยอดรวมถึง
การรวมตัวของคนที่มีคุณภาพเพื่อสร้างประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐาน
ของความไว้เนื้อเชื่อใจ และวัฒนธรรมที่ดีงาม ซึ่งทุนทางสังคม อาจประกอบด้วย
1) ทุนมนุษย์
2) ทุนที่เป็นสถาบัน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา
การเมือง องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน สมาคมวิชาชีพ
3) ทุนทางปัญญาและวัฒนธรรม ครอบคลุมถึงระบบคุณค่า เช่น การมี
จิตสำนึกสาธารณะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น (พัฒนพงศ์ สุกิจปาณีนิจ,
2552, หน้า 13-14)
43