Page 127 - kpiebook65057
P. 127
Rural Community) ชนบทแบบกึ่งเมืองกึ่งชนบท (Semi–Urban Community ) ชนบท
ที่เปลี่ยนแปลงจากนโยบายรัฐ (Government-led Development Area)
ดำเนินการวิจัยโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก
ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 34 ท่าน ที่มาจากหลากหลายภาคส่วน ได้แก่ นักวิชาการ
นักการเมือง ภาคประชาสังคม เอ็นจีโอ ปราชญ์ชาวบ้าน ภาคเอกชน ผู้บริหารระดับสูง
ผู้นำศาสนา สื่อและเยาวชน และใช้วิธีการประเมินสภาวะชนบทอย่างเร่งด่วน
(Rapid Rural Appraisal : RRA) โดยทำการเก็บข้อมูลเพื่อศึกษาสังคม ชนบท ท้องถิ่น
ทั้ง 4 ประเภท ใน 4 ภูมิภาค ของประเทศ แบ่งเป็น 16 พื้นที่ และเก็บข้อมูล
จาก 192 กลุ่มตัวอย่าง
จากการศึกษาพบว่านับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสังคม ชนบท ท้องถิ่น
ไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในมิติต่างๆ ทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร
การอพยพย้ายถิ่นของคนในชนบทมาอยู่ในเมือง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง
ทางสังคม ค่านิยม วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ วิถีการผลิต
การเปลี่ยนแปลงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ โดยการเปลี่ยนแปลง
ที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งนี้ในส่วนของปัจจัยภายใน พบว่าสังคมชนบท
ได้อิทธิพลมาจากพลวัตของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504-2508)
จนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งครอบคลุม
เวลากว่า 50 ปี ที่มีการมุ่งกระจายการพัฒนาเชิงกายภาพอย่างโครงสร้างพื้นฐานและ
ระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจ การลงทุนใน
ภาคอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบแผนการผลิตจากเพื่ออยู่มาเป็น
การผลิตเพื่อขาย รวมถึงปัจจัยด้านกฎหมาย และรัฐธรรมนูญ เช่น รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2540 ที่ส่งเสริมการกระจายอำนาจไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการยกระดับ
สุขาภิบาลให้เป็นเทศบาลตำบล อันเป็นการเพิ่มอำนาจและอิสระให้แก่องค์การ
ปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น ข้อบัญญัติของรัฐธรรมนูญยังคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพของ
ประชาชนในการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการจัดตั้งองค์กรอิสระ อาทิ คณะกรรมการ
สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันปราบปรามการทุจริต และอื่น ๆ
เพื่อตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล
72