Page 125 - kpiebook65057
P. 125
วัฒนธรรมทางการเมืองของไทยเกิดขึ้นและมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับวัฒนธรรม
ทางการเมืองที่มีมาก่อน อีกทั้งวัฒนธรรมทางการเมืองมีลักษณะไม่หยุดนิ่งและ
ลักษณะของวัฒนธรรมบางอย่างก็สืบทอดมาจนถึงปัจจุบันผ่านการศึกษา การสื่อสาร
การพยายามรักษาวัฒนธรรมแบบอำนาจนิยม หรือวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์ เป็นต้น
(นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์, 2554, อ้างใน พระครูวินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ, หน้า 429-430)
จากผลการศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมทางการเมืองไทยนับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลง
การปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2562) พบว่า วัฒนธรรมทาง
การเมืองไทยยังมีข้อจำกัดอยู่มากและไม่เพียงพอที่จะใช้เป็นปัจจัยในการตอบโจทย์
การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาการเมืองของไทยในปัจจุบัน (พระครูวินัยธรจักรี ศรี
จารุเมธีญาณ, 2561, หน้า 418)
ถวิลวดี บุรีกุล (2543) ศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเลือกตั้ง
สมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543 พบความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ กับการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยผลการศึกษา
พบว่าสอดคล้องกับแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมที่ผู้ชายมักมีส่วนร่วมทางการเมือง
มากกว่าผู้หญิง ผู้ที่อยู่ในวัยกลางคนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากกว่ากลุ่มอายุอื่นๆ
การมีส่วนร่วมยังมีความแตกต่างกันไปตามระดับการศึกษา อาชีพ ถิ่นที่อยู่อาศัย
และการศึกษาครั้งนี้พบว่าคนกรุงเทพทั้งที่อาศัยอยู่ในเมืองและชานเมืองมักมีระดับ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองต่ำกว่าชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดอื่นๆ (ถวิลวดี บุรีกุล และ
รัชวดี แสงมหะหมัด, 2557, หน้า 37)
โรเบิร์ต บี อัลบริททัน และถวิลวดี บุรีกุล (2543) ศึกษาเรื่อง “ความต่อเนื่อง
ของประชาธิปไตย: การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543” พบว่า ผู้ที่อาศัย
อยู่ในชนบทและมีสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมต่ำกว่าจะมีระดับความพึงพอใจ
ต่อระบอบประชาธิปไตยสูงกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองและมีสถานะทางเศรษฐกิจ
และสังคมสูงกว่า นอกจากนี้คนกรุงเทพมหานคร มีเกณฑ์์ในการพิจารณา
เลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่
คนกรุงเทพมหานครจะใช้ปัจจัยเรื่อง “ความสามารถและความซื่อสัตย์” ของผู้สมัคร
70