Page 122 - kpiebook65057
P. 122
ได้โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้และการอบรมขัดเกลาจากสังคม
ในขณะเดียวกันความเป็นพลเมืองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของ
กระบวนการอบรมขัดเกลา และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางสังคม
ร่วมกันระหว่างสมาชิกในชุมชน แนวทางในการส่งเสริมให้เกิด
ความเป็นพลเมืองในสังคมไทย ควรเริ่มต้นจากการลดขนาด และ
ลดบทบาทของภาครัฐจากการเป็นผู้ปกครองมาเป็นผู้ประสาน
ทางสังคม เปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในการบริหาร
จัดการสังคมมากขึ้น ในขณะเดียวกันภาคส่วนอื่นโดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งภาคพลเมือง ภาคประชาสังคม และชุมชน จะต้องต้องแสดง
จุดยืนถึงความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและดูแลสังคม
การกำหนดแนวทางในการพัฒนาประเทศ รวมทั้งการตรวจสอบการ
ทำงานของภาครัฐ (มานิตตา ชาญไชย, 2559)
จุมพล หนิมพานิช และ สุรวงศ์ วรรณปักษ์ (2562) ได้ศึกษาเรื่อง การเมือง
ภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมือง: ทางออกของประเทศไทย ภายใต้บริบทของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับพุทธศักราช 2540 และพุทธศักราช 2550
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพัฒนาการของการเมืองภาคประชาชน/การเมือง
ภาคพลเมืองนับตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 กระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราช
อาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ถูกยกเลิก 2) เพื่อศึกษาการเมืองภาคประชาชน/
การเมืองภาคพลเมืองในแง่ที่เป็นทางออกของเมืองไทย และ 3) เพื่อศึกษาปัญหา
อุปสรรคและแนวทางแก้ไขการเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมืองในฐานะ
เป็นทางเลือกหรือทางออกของการเมืองไทย ผลการศึกษาพบว่า พัฒนาการของ
การเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมือง ตั้งแต่เหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535
จนกระทั่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ถูกยกเลิก พบว่า
พัฒนาการของการเมืองภาคประชาชน/การเมืองภาคพลเมืองมีพัฒนาการทางบวก
มากกว่าทางลบหรือมีพัฒนาการไปในทิศทางที่ก้าวหน้าเพิ่มขึ้นตามลำดับ ทั้งใน
เชิงวิชาการและในเชิงปฏิิบัติ เช่น การเคลื่อนไหวของขบวนการทางสังคมแนวใหม่
67