Page 126 - kpiebook65057
P. 126
เป็นพื้นฐานในการประเมินผู้สมัคร ขณะที่คนที่อาศัยในต่างจังหวัดจะให้ความสำคัญ
เรื่อง “ความสัมพันธ์กับท้องถิ่น” ของผู้สมัคร
2.4.2 งานวิจัยที่เกี่ยวกับอนาคตศึกษา
สถาบันพระปกเกล้าได้ทำการศึกษาโครงการวิจัย เรื่อง “ประเทศไทย
ในอนาคต Future Thailand : มิติที่ 2 สังคม ชนบท ท้องถิ่น” ในระยะ 5-20 ปีข้างหน้า
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของสังคม ชนบท ท้องถิ่นในอดีตและปัจจุบัน
2) เพื่อจัดทำฉากทัศน์ของสังคม ชนบท ท้องถิ่น ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และศึกษาถึง
ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากฉากทัศน์ดังกล่าว และ 3) เพื่อนำเสนอนโยบายที่เหมาะสม
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและลดความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แบ่งระยะการฉายภาพอนาคตออกเป็น 4 ระยะ
ประกอบด้วย ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562-2567) ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2567-2572) ระยะ
15 ปี (พ.ศ. 2572-2577) และระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2577-2582) เพื่อที่จะทราบแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงและสภาพการณ์ของสังคม ชนบท ท้องถิ่นในอนาคต และเพื่อ
นำเสนอนโยบายรองรับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
ทั้งนี้ในส่วนของพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคม ชนบท ท้องถิ่น
มีขอบเขตที่จะทำการศึกษาและวิเคราะห์โดยนำแนวคิดคุณภาพสังคม (Social Qual-
ity) เป็นกรอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ซึ่งตัวแปรของคุณภาพสังคมด้านต่าง ๆ
แบ่งเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสังคม (Socio-economic
Security) ความสมานฉันท์ทางสังคม (Social Cohesion) การยอมรับการเป็น
สมาชิกของสังคม (Social Inclusion) และการเสริมสร้างพลังทางสังคม (Social
Empowerment)
การวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาสังคม ชนบท ท้องถิ่น ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
ชนบทแบบเกษตรดั้งเดิม (Traditional Community) ชนบทแบบผสมผสาน (Hybrid
71