Page 130 - kpiebook65057
P. 130
ในครัวเรือนกลายเป็นการพึ่งพาทุน ระบบเศรษฐกิจภาคเมืองและเทคโนโลยีมากขึ้น
ความหลากหลายทางชีวภาพลดลงอันเกิดจากนโยบายส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดี่ยว
และการใช้สารเคมี ในด้านสุขภาพ คนชนบทเผชิญกับโรคติดต่อ ที่เกิดจากเชื้อโรค
เช่น มาลาเรีย ไข้เหลือง ไข้กาฬหลังแอ่น แต่ในปัจจุบันด้วยสภาพเศรษฐกิจ และ
ค่านิยมในการบริโภคอาหารและวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้คนในชนบทมีสุขภาพทรุด
โทรมจากโรคไม่ติดต่อมากขึ้น เช่น โรคมะเร็ง ความดัน เบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเป็นผลของอัตราการเกิดที่ลดลงทำให้โครงสร้าง
ครอบครัวเปลี่ยนแปลงไป กล่าวคือ จากเดิมที่เคยเป็นครอบครัวขยายเปลี่ยนมาเป็น
ครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวดาวกระจาย คือ พ่อแม่ลูก ไม่ได้อาศัยอยู่ด้วยกัน
ลูกถูกปล่อยให้อยู่กับปู�ยาตายาย ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย เด็กได้รับการบ่มเพาะ
แนวคิดและพฤติกรรมของคนรุ่นก่อน ไม่สามารถปรับตัวได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง
ในด้านของแรงงานพบว่าการเปลี่ยนแปลงจากยุคเกษตรกรรมเข้าสู่ยุคพัฒนา
อุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาเทคโนโลยี และการเข้าสู่ระบบการศึกษา ทำให้เกิดอาชีพ
ที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะอาชีพในภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ แรงงาน
ในชนบทที่เคยทำเกษตรกรรม ถูกดูดเข้าไปอยู่ในเมืองมากขึ้น ขณะที่ความสามัคคี
ของผู้คนในชนบท ความช่วยเหลือเกื้อกูลลดน้อยลง ปัจจุบันสังคมชนบทเกิดความ
ไม่ไว้วางใจ และความขัดแย้งเพิ่มขึ้น เนื่องจากระบบกองทุนกู้ยืม กองทุนหมู่บ้าน
ระบบธนาคารเข้ามาในชนบท มีการส่งเสริมให้คนกู้เงินเพื่อนำมาบริโภค ส่งผลให้
ชนบทมีหนี้สินเพิ่มขึ้น ความขัดแย้งจากการค้ำประกัน การคิดดอกเบี้ยเงินกู้
สร้างความร้าวฉานระหว่างคนในชุมชน ในด้านความเชื่อทางศาสนาที่เคยเป็นปัจจัย
กล่อมเกลาทางสังคม เช่น ความเชื่อเรื่องการทำความดี ความซื่อสัตย์ ความกตัญญูู
และการปฏิิบัติตามหลักธรรมคำสอนนั้นลดลง และถูกแทนที่ด้วยการปฏิิบัติเชิง
พิธีกรรม เน้นการไปวัดเพื่อทำบุญเอาหน้ามากกว่าแสวงหาความสุขทางใจ ขณะที่
ความผูกพันระหว่างคนในชนบทลดลง จาการมีค่านิยมแบบบริโภคนิยมและวัตถุนิยม
มากขึ้น มุ่งแสวงหาชื่อเสียง เงินทอง ลาภยศ อีกทั้งในอดีตสังคมชนบทเคยมี
ครอบครัวทำหน้าที่กล่อมเกลาทางสังคม ปัจจุบันสถาบันครอบครัวถูกทำลายจาก
ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาด้านเศรษฐกิจ ปัญหาด้านความเป็นอยู่ ปัญหาด้านสังคม
75