Page 132 - kpiebook65057
P. 132

2. ความผูกพันทางจิตใจลดลง ความสามัคคีทางสังคมลดลง มีแต่กลุ่ม
               เศรษฐกิจที่มากขึ้น กลุ่มทางสังคมช่วยเหลือเกื้อกูลกันลดลง


                        3. มีการรวมศูนย์อำนาจมากขึ้น กล่าวคือ การมีส่วนร่วมในการบริหาร

               จัดการอย่างแท้จริงในการบริหารจัดการท้องถิ่น ชุมชน และชนบทจะยุ่งยากมากขึ้น


                        4. มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางวัฒนธรรมมากขึ้น กล่าวคือ สังคมชนบท
               จะเป็นสังคมที่คนมีความไว้วางใจในชุมชนลดลง เน้นคุณค่าด้านวัตถุนิยมมากกว่า

               การมีศีลธรรม นอกจากนี้ยังเกิดความล้าหลังทางวัฒนธรรม (Cultural lag) หรือ
               การที่ผู้คนไม่สามารถปรับตัวหรือตามทันการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ส่งผลให้
               สูญเสียโอกาสในด้านต่างๆ โดยเฉพาะโอกาสทางเศรษฐกิจและการมีคุณภาพชีวิตที่ดี



                        5. การสูญเสียสมดุลทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ


                        6. เป็นสังคมที่ไร้พลัง เนื่องจากขาดการเสริมสร้างพลัง


                        7. เป็นสังคมที่มีคุณภาพสังคมในระดับต่ำ (Low Social Quality)


                        จากผลการศึกษาได้จัดทำภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคมชนบทในอนาคต
               สามารถแบ่งได้ทั้งหมด 4 ฉากทัศน์ประกอบด้วย ฉากทัศน์สังคมอุดมสุข (peaceful

               and happy society) ฉากทัศน์สังคมที่สมดุลและยั่งยืน (Sustainable Balanced
               Society) ฉากทัศน์สังคมปนสุขและทุกข์ (mixed society) ฉากทัศน์สังคมอมทุกข์

               (unhappy society) (สถาบันพระปกเกล้า, 2564)


                        ฉากทัศน์สังคมอุดมสุข เป็นลักษณะสังคมที่มีระบบเศรษฐกิจแห่งการอยู่
               ร่วมกัน (Moral economy) มีการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน สังคม

               มีสันติสุข ผู้คนในชุมชนยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนทางศาสนา สังคมมีความสามัคคี
               กลมเกลียวและมีความเป็นหุ้นส่วนทางสังคมระหว่างรัฐ เอกชน ประชาชน มีการ
               กระจายอำนาจไปสู่ชนบท มีการบริหารโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เน้นการเสริมสร้าง






                                                  77
   127   128   129   130   131   132   133   134   135   136   137