Page 137 - kpiebook65057
P. 137
การเดินทางด้วยรถยนต์เพิ่มขึ้นในเมืองใหญ่ ทั่วโลก จำนวนรถยนต์และรถ
จักรยานยนต์ก็เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในมหานครกรุงเทพ 2) แนวคิดธุรกิจขนส่ง
ฐานบริการ (Mobility as a Service: MaaS) ระบบขนส่งสาธารณะทั้งระบบ จบที่
แพลตฟื้อร์มเดียว MaaS กลายเป็นความหวังอันยิ่งใหญ่ในการจัดการระบบขนส่ง
ในอนาคต 3) ระบบเชื่อมต่อข้อมูลเพื่อการเดินทาง (connected mobility) ระบบ
ขนส่งสาธารณะ on demand การพัฒนาด้านเทคโนโลยีดิจิตัลทำให้สามารถเชื่อมโยง
ข้อมูลการเดินทางภายในเมืองเพื่อตอบสนองความต้องการของคนเมืองได้
อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 4) ส่วนตัวกับส่วนรวม (individual VS collective)
กฎหมายที่ยังไร้ความชัดเจน นวัตกรรมระบบ บริการร่วม (sharing) ต้องการการรองรับ
ด้านกฎหมายแบบบูรณาการ ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ ชัดเจนในการกำกับดูแล
ธุรกิจบริการขนส่งผ่านแอปพลิเคชัน
ปัจจัยสำคัญที่จะมีผลต่อการเดินทางในกรุงเทพมหานครและปริมณฑ์ล
ในอนาคต คือ 1) นวัตกรรมการขนส่ง จะเปลี่ยนวิธีการเดินทางของคนเมือง
ในอนาคต ได้แก่ ยานยนต์ไร้คนขับ (autonomous vehicle) ยานยนต์ไฟื้ฟื้้า (E-vehicle)
การขนส่งโดรน ระบบการเชื่อมต่อยานพาหนะ กับข้อมูล (connected vehicle)
ธุรกิจขนส่งฐานบริการ (Mobility as a Service: MaaS) 2) เศรษฐกิจดิจิทัล จะสร้างความ
สะดวกและเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนเมืองในอนาคตในทุกด้าน 3) สังคมเมืองสมัยใหม่
คนเมืองจะเพิ่มมากขึ้น มีความเป็นปัจเจกมากขึ้นและเป็นสังคมผู้สูงอายุที่มี ข้อจำกัด
ในการเดินทาง จะเปลี่ยนความต้องการในการเดินทางในอนาคต 4) กฎหมายรองรับ
เทคโนโลยีสมัยใหม่ จะเปลี่ยนทิศทางการพัฒนาระบบขนส่งในเมืองในอนาคต
(เปี�ยมสุข สนิทและอภิวัฒน์ รัตนวราหะ, 2563)
อนาคตทางเลือก (alternative future) ของการเดินทางในมหานครกรุงเทพ
ในการเลือกตรรกะฉากทัศน์ (scenario logic) งานวิจัยนี้เลือกปัจจัยการขับเคลื่อน
สำคัญ 2 ประการที่มีความ ไม่แน่นอนสูงและจะสร้างผลกระทบกับระบบเดินทาง
ในเมืองสูง ได้แก่ รูปแบบการเป็นเมืองของมหานครกรุงเทพ ซึ่งประกอบด้วย
2 ขั้วหลัก คือ การรวมศูนย์กลางการเติบโตกลับมาไว้ที่พื้นที่เมือง (urban
reconcentration) กับการแผ่ขยายพื้นที่เมืองออกสู่ชานเมือง (suburbanization)
82