Page 139 - kpiebook65057
P. 139

ของการพัฒนา (efficiency) เนื่องจากช่วยสนับสนุนในการสร้างลักษณะทาง กายภาพ
             และสิ่งแวดล้อมที่ดีภายในเมือง รวมถึงสะท้อนคุณภาพชีวิตที่ดีในการเดินทางคน
             เมืองในหลายมิติ ได้แก่ 1) คนเมืองเดินทางได้อย่างสะดวก มีทางเลือกในการเดินทาง

             ที่หลากหลายเนื่องจากระบบขนส่งสาธารณะมีราคาถูก 2) เดินทางระยะสั้น
             เน้นการเดินเท้า จักรยาน และ micro mobility จึงเป็นอนาคตที่เหมาะสมสำหรับ

             คนในมหานครกรุงเทพ (เปี�ยมสุข สนิท และอภิวัฒน์ รัตนวราหะ, 2563)


                     พรสรร วิเชียรประดิษฐ์ และอภิวัฒน์ รัตนวราหะ ได้ทำการศึกษาวิจัยเรื่อง
             “คนเมือง 4.0: อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย Urbanites 4.0: The Futures of

             Thai Urban Life โครงการย่อยที่ 5 – การซัื้อของในเมือง” จากการทบทวน
             วรรณกรรม พบว่า การซื้อของในเมืองเป็นกิจกรรมหลักประเภทหนึ่งของพาณิชยกรรม
             ที่เกิดขึ้นในเมือง  ซึ่งเชื่อมโยงโดยตรงกับ  การค้าปลีก  โดยวิวัฒนาการของ

             การค้าปลีกนั้นสามารถแบ่งได้เป็น การค้าปลีกดั้งเดิม (traditional trade) (การค้า 1.0)
             การค้าปลีกสมัยใหม่ (modern trade) (การค้า 2.0) ซึ่งการค้าปลีกทั้งสองประเภทนั้น

             กำลังถูกท้าทายด้วยการค้าปลีกรูปแบบใหม่ คือ อีคอมเมิร์ซ (E-commerce)
             (การค้า 3.0) ที่กำลังเข้ามามีบทบาทกับ ชีวิตคนเมืองมากขึ้น


                     การซื้อของในเมืองของประเทศไทยที่สำคัญได้แก่ 1) พฤติกรรมการบริโภค

             ที่เปลี่ยนไป ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและรูปแบบครัวเรือน
             รวมถึงค่านิยม ใหม่ ๆ อาทิวิถีคนโสด เศรษฐกิจขี้เกียจ การถวิลหาประสบการณ์ของ
             คนรุ่นใหม่ ฯลฯ 2) การค้าปลีกดั้งเดิมถดถอย ในขณะการค้าปลีกสมัยใหม่รุ่งเรือง ซึ่ง

             เป็นปรากฏิการณ์ที่พบได้ในเมืองทุกระดับ เนื่องจากกำลังซื้อที่เพิ่มขึ้นและวิถีชีวิต
             แบบคนเมืองที่กระจายไปในภูมิภาค 3) การขยายตัวของร้านสะดวกซื้อ ซึ่งเกิดขึ้น

             อย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
             โดยมีความพยายามในการเพิ่มบริการ ใหม่ๆ เข้าไปของผู้ประกอบการ 4) การเติบโต
             ของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งถือเป็นคลื่นลูกใหม่ของวงการค้าปลีก ซึ่งคน ไทยมีพฤติกรรม

             ในการซื้อของผ่านโซเชียลมีเดียมากกว่าแพลตฟื้อร์มอื่นของอีคอมเมิร์ซ ซึ่งการ
             เติบโตอย่างก้าว กระโดดนี้เป็นผลจากการส่งเสริมให้เกิดสังคมไร้เงินสด และการ





                                               84
   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143   144