Page 136 - kpiebook65057
P. 136
เปี�ยมสุข สนิท และอภิวัฒน์ รัตนวราหะได้ศึกษาวิจัยเรื่อง “คนเมือง 4.0:
อนาคตชีวิตเมืองในประเทศไทย Urbanites 4.0: The Futures of Thai Urban Life
โครงการย่อยที่ 4 – การเดินทางในเมือง” งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการและวิธีการ
คาดการณ์เชิงยุทธศาสตร์(strategic foresight) มุ่งเน้นอธิบายภาพรวม
การเดินทางของคนเมืองในอนาคต จากการศึกษาและทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับ
พัฒนาการของการเดินทางในเมือง พบว่าการเดินทางในเมืองมีวิวัฒนาการ
ไปพร้อมกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเริ่มต้นจากยุคแห่งการเดินเท้าและรถม้า
(ทศวรรษ 1800-1890) ยุคแห่งรถราง (ทศวรรษ 1890-1920) ยุคแห่งรถยนต์
(ทศวรรษ 1930-1950) ยุคการพัฒนาทางด่วน (ทศวรรษ 1950-2010) จนถึง
ยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นยุคแห่งการบูรณาการเคลื่อนที่ภายใน เมืองทุกรูปแบบเพื่อ
สนับสนุนระบบขนส่งมวลชนทางรางหรือรถไฟื้ (ทศวรรษ 2010 เป็นต้นมา) นวัตกรรม
ด้านการขนส่งที่สำคัญ คือ ระบบบริการร่วม (sharing) การพัฒนาด้านเทคโนโลยี
ดิจิทัลทำ ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลการเดินทางภายในเมืองเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของคนเมืองได้มีประสิทธิภาพ มากขึ้น เกิดการพัฒนาบริการขนส่ง
ที่ตอบสนองความต้องการเดินทางที่หลากหลายของคนเมือง (on-demand
transport service) นำไปสู่การพัฒนาธุรกิจการให้บริการรถส่วนบุคคลร่วมโดยสาร
ผ่านแอปพลิเคชัน (ridehailing service) เป็นนวัตกรรมด้านการขนส่งที่กำลัง
ได้รับความนิยมและกลายเป็นวิถีในชีวิตประจำวันของคน เมืองทั่วโลก รวมถึง
ประเทศไทย นอกจากนี้ยังมีนวัตกรรมการขนส่งที่กำลังจะเปลี่ยนรูปแบบการเดินทาง
ของ คนเมืองให้สะดวกมากขึ้นด้วยแนวคิดการขนส่งฐานบริการ หรือ Mobility as a
Service (MaaS) จะเกิดขึ้นไป พร้อมกับเทคโนโลยียานยนต์ไร้คนขับ (autonomous
driving) และ เครื่องยนต์ระบบไฟื้ฟื้้า (electrification) ทั้งนี้เทคโนโลยีเหล่านี้มีเงื่อนไข
ในการใช้งาน อาทิการรองรับด้านกฎหมายและระบบโครงสร้างพื้นฐานแบบใหม่
(เปี�ยมสุข สนิทและอภิวัฒน์ รัตนวราหะ, 2563)
แนวโน้มสำคัญในการเดินทางในกรุงเทพสอดคล้องกับแนวโน้มระดับโลก
ในประเด็นที่น่าสนใจ ดังนี้ 1) ยุคแห่งยานยนต์ (motorization): ยาวนานสู่อนาคต
81